การเปรียบเทียบวรรณยุกต์ภาษาผู้ไทในตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมกับหมู่บ้านสองเมืองใต้ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เกศนี คุ้มสุวรรณ
วิภาวรรณ อยู่เย็น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวรรณยุกต์ผู้ไท ที่หมู่ 2 ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กับวรรณยุกต์ภาษาผู้ไท ที่หมู่บ้านสองเมืองใต้ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แบบทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของ Gedney (1972) และใช้โปรแกรม PRAAT วิเคราะห์เสียง ผลการศึกษาพบว่า ภาษาผู้ไทที่จังหวัดนครพนมมีวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง โดยมีการรวมการแยกเสียงของวรรณยุกต์แบบ AB123, A4=B123=DL1234, B4=C12=DS4 แยกเสียงวรรณยุกต์ B4 กับ C4 และ B=DL วรรณยุกต์ที่ 1 A123 มีสัทลักษณ์กลางตกขึ้น วรรณยุกต์ที่ 2 A4 B123 DL1234 มีสัทลักษณ์กลางสูงตก วรรณยุกต์ที่ 3 B4 C12 DS4 มีสัทลักษณ์กลางสูง วรรณยุกต์ที่ 4 C3 มีสัทลักษณ์กลางระดับ และวรรณยุกต์ที่ 5 C4 DS123 มีสัทลักษณ์กลางต่ำสูง ส่วนภาษาผู้ไทที่หมู่บ้านสองเมืองใต้ ประเทศลาวมีวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง มีการรวมการแยกเสียงของวรรณยุกต์แบบ A123=DS123, A4=B12=C1=DL1234 แยกเสียงวรรณยุกต์ B4 กับ C4 และ B≠DL วรรณยุกต์ที่ 1 A123 DS123 มีสัทลักษณ์กลางขึ้นสูง วรรณยุกต์ที่ 2 A4 B12 C1 DL1234 มีสัทลักษณ์กลางสูงตก วรรณยุกต์ที่ 3 B3 C234 มีสัทลักษณ์กลางต่ำขึ้นตก และวรรณยุกต์ที่ 4 B4 DS4 มีสัทลักษณ์กลางสูง เสียงวรรณยุกต์กลางระดับปรากฏในตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ส่วนที่หมู่บ้านสองเมืองใต้ แขวงคำม่วน ประเทศลาวไม่ปรากฏเสียงดังกล่าวจึงทำให้จำนวนหน่วยเสียงของทั้ง 2 ถิ่นแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biographies

เกศนี คุ้มสุวรรณ, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญเอก ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิภาวรรณ อยู่เย็น, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

Akharawatthanakun, P. (2003). Tone change: A case study of the Lao language. The thesis for the Degree of Doctor of Philosophy in Linguistics Department of Linguistics Faculty of Arts Chulalongkorn University. (in Thai)

________________. (1998). Comparative study of the tonal system in the speech of the "Lao", the "Nyo" and the "Phutai" in that phanom district, Nakhon Phanom province. The thesis for the Degree of Master in Linguistics Department of Linguistics Faculty of Arts Chulalongkorn University. (in Thai)

Burusphat, S. (2013, July-December). “Tonal variation and change of Tai Dam”. Language and Culture Journal. 32 (2): 19-41. (in Thai)

__________. (2000). Dialect geography. Nakhon Patom: Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University. (in Thai)

Chaiyasuk, t. & Mollerup A. (2014). Phu-Tai: Ethnic Tai or Tai people? (Online). Retrieved May,12, 2017 from http://www.phutai.thai-isan-lao.com/Chaiyasuk-Mollerup-2014-Phutai _ethnonym_THAI.

Gedney, W. J. (1972). A checklist for determining tones in Tai dialects. In M. E. Smith (Eds.), Studies in Linguistics in Honor of George L. Trager (pp. 423-437). The Hague: Mouton.

Khanittanan, W. (1977). Phutai Language. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Liamprawat, S. (2008). Study of dialects: Tai language. Nakhon Patom: Silpakorn University Printing house.