พุทธเกษตรกร : นวัตกรรมเพื่อความอยู่รอดของสังคมเกษตรกรรม

Main Article Content

ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวล

บทคัดย่อ

             สังคมเกษตรกรรม นับเป็นวาทกรรมที่นำมาใช้อธิบายภาพใหญ่ของสังคมไทยด้วยพยายามบอกว่าความจริงในชีวิตคนไทยส่วนใหญ่ดำรงชีพผ่านการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ในที่นี้คงไม่มุ่งพรรณนาว่าความเป็นเกษตรกรมีวิวัฒนาการถ่ายทอด สืบทอดกันมาอย่างไรแต่เน้นย้ำถึงภาวะที่ดำรงอยู่ของเกษตรกรไทยในปัจจุบันรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเชิงสร้างสรรค์ เริ่มที่ทำความเข้าใจร่วมกันในนิยามของคำว่า สังคม โดยรวมมักได้ยินว่าทำอย่างไรผู้คนจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข จึงสรุปความได้ว่าสังคมคือระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน เมื่อจะพัฒนาสังคมจึงต้องสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าคนกับคน ปัญหาสังคมคือปัญหาของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ดังนั้นสังคมเกษตรกรรมจึงมุ่งประเด็นอธิบายว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนผ่านการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญโญ / กองสินธุ์) และคณะ. (2557). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารช่อพะยอม, 25(1), 53-64.

ศุภชัย เจียรวนนท์. (2559). การเกษตร 4.0 ในยุค ดิจิทัลต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2559 จาก https://www.salika.co/2016/01/15/cp_difital_agriculture-2016/