การศึกษารูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของ วัดเนินพระเนาวนาราม ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดเนินพระเนาวนารามและรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดเนินพระเนาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และเพื่อศึกษาการเผยแผ่แนวปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดเนินพระเนาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย


รูปแบบการสอนกรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า พระพุทธเจ้ามีรูปแบบในการสอนกรรมฐาน 11 รูปแบบ 


รูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดเนินพระเนาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า สำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดเนินพระเนาวนาราม มีแนวทางในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ รูปแบบการปฏิบัติเน้นการกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถทั้งสี่ มีขั้นตอนในการเจริญสติเรียกว่า การเจริญสติด้วยการ “สร้างจังหวะ” มีคำบริกรรมว่า “ไหว-นิ่ง”  


             การเผยแผ่แนวปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดเนินพระเนาวนาราม พบว่า วัดเนินพระเนาวนาราม มีสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นสาขา จำนวน 14 สาขา


             สาเหตุของความสนใจแนวปฏิบัติวัดเนินพระเนาวนาราม พบว่า แนวคำสอนมีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก เป็นสำนักปฏิบัติที่อยู่ใกล้บ้านและมีความสัปปายะ และมีความศรัทธาในปฏิปทาของเจ้าสำนัก 


             แนวการสอนที่ทำให้เกิดความสนใจ พบว่า เป็นแนวการสอนที่สามารถพิจารณาสภาวธรรมได้โดยตรง โดยเน้นการเจริญสติและการพิจารณารูปนาม  


          การเปลี่ยนแปลงและผลที่ได้รับหลังจากการปฏิบัติ พบว่า ด้านจิตใจ ทำให้มีสติมากขึ้น ไม่วู่วามโกรธง่าย สามารถควบคุมใจตนเองได้เมื่อพบกับการสูญเสีย หรือได้รับสิ่งที่ไม่พึงพอใจ ด้านร่างกาย ตัวเบาสบาย ไม่อึดอัด บุคลิกภาพดีขึ้น ไม่ลุกรี้ลุกรน มีสติในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พุทธธรรม (ฉบับเดิม) พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิริยา ชินวรรโณ และคณะ. (2543). สมาธิในพระไตรปิฎก. กรุเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.