ศึกษาวิเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ 3 ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท

Main Article Content

พระภัทรนันต์ ฐิตเสฏฺโฐ
พระครูโกศลอรรถกิจ .
อุทัย เอกสะพัง
พระมหาอภินันท์ นนฺทภาณี คำหารพล
พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ จันทร์โร

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความดีสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา2) เพื่อศึกษาบุญกิริยาวัตถุ 3 ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท และ3) เพื่อวิเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ 3 ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่าความดีสูงสุดในทางพุทธศาสนาสามารถแบ่งเป็นระดับของความดีได้ 3 ระดับคือ ความดีระดับศีล ได้แก่การควบคุมกาย และวาจา ให้อยู่ในกรอบของคุณธรรมเบื้องต้น เพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคม  ความดีระดับกุศลกรรมบถ ได้แก่ความประพฤติที่เป็นธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา และความดีระดับมรรค ได้แก่การดำเนินตามหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ซึ่งถือเป็นความดีขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ส่วนการกระทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนานั้น เรียกว่าการกระทำบุญ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามหลักของบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ การทำบุญด้วยการให้ทาน การทำบุญด้วยการรักษาศีล และการทำบุญด้วยการเจริญภาวนาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทนั้นมีจุดประสงค์ 2 กระการคือ ให้เพื่ออนุเคราะห์ และให้เพื่อ  บูชาคุณ ประกอบด้วยลักษณะของการให้ทาน 5 ประการคือ ให้ด้วยศรัทธา ให้โดยเคารพ ให้ตามกาล ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ และให้ไม่กระทบตนและผู้อื่น และมีอานิสงส์ 2 ประการคือ ทำให้ไปเกิดบนโลกสวรรค์ และทำให้เป็นผู้มีโภคะมาก ส่วนในด้านการรักษาศีลนั้นมีการรักษาศีลเพื่อการควบคุมกาย วาจา ใจของตน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม และในด้านการเจริญภาวนา พบว่ามีการเจริญภาวนาเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือความพ้นทุกข์ ทั้งในลักษณะสมถภาวนา วิปัสนาภาวนา อสุภกัมมัฏฐาน เมตตา และมรณานุสติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก. (2548). วิธีสร้างบุญบารมี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นันทพันธ์.