การตีความแบบวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่าง PITY AND FEAR กับหิริโอตตัปปะ

Main Article Content

สกุล อ้นมา

บทคัดย่อ

ความเหมือนและต่างในเรื่องความเกรงกลัวต่อบาป เป็นสิ่งที่เชื่อกันว่าสามารถกระตุ้นความรู้สึกแห่งคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดมีขึ้นในจิตใจของบุคคล และสามารถระงับยับยั้งการกระทำที่เป็นบาปเป็นกรรมใด ๆ ได้ทั้งหมด ถือเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคคลเกิดมีสำนึกแห่งความสงสารและความกลัวนี้ โดยการสื่อผ่านทางผลงานวรรณกรรมหรือในทางวรรณคดีสำคัญ ๆ ของโลก ในหลากหลายรูปแบบและลักษณะวิธี ในทางตะวันตกจะมีหลักการทางปรัชญาวรรณคดี ที่เขียนไว้ในผลงานที่ชื่อว่า “The Poetics” โดยนักปรัชญาชาวกรีกผู้มีนามอันอุโฆษว่า “อริสโตเติล” (Aristotle) โดยมุ่งเน้นในความเป็นละครคลาสสิคที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบทางวรรณคดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรม (Tragedy) หรือสุขนาฏกรรม (Comedy) ซึ่งความรู้สึกนี้ มีประเด็นที่คล้ายคลึงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หัวข้อ “ธรรมเป็นโลกบาลคือคุ้มครองโลก” ซึ่งประกอบด้วยหิริ ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ทำให้ Pity and Fear กับ หิริโอตตัปปะมีลักษณะร่วมที่เป็น “คุณธรรมสากล” หรือ “จริยธรรมสากล” ที่สำคัญสำหรับมวลมนุษยชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11), กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2541). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิเชียร เกษประทุม. (2548). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2531). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2557). นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 82), กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

Dek-D. (2561). อีดีปัส ผู้ที่ฆ่าพ่อของตนและเอาแม่มาเป็นภรรยา. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2561 จาก https://writer.dek-d.com/Chinprakhon/story/view.php?id=1387 392