ปรัชญาและความคิดทางการเมืองยุคโบราณ

Main Article Content

เกษฎา ผาทอง
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

บทคัดย่อ

          กลตรรกศาสตร์สรรพสิ่งเอกภพเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ความจริงทางธรรมชาติสร้างมนุษย์ก่อกำเนิดพฤติกรรมที่หลากหลาย วิถีชีวิตที่แตกต่าง พฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย การดำรงตนอยู่ในสังคมหมู่มากจึงจำเป็นต้องมีกฎ ระเบียบเข้ามาควบคุม การศึกษาปรัชญาและแนวคิดปรัชญาการเมืองยุคโบราณ เป็นความพยายามที่จะทดแทนความเห็นในเรื่องธรรมชาติของการเมือง ทั้งยังเป็นความพยายามที่จะรู้ทั้งธรรมชาติของสิ่ง ที่เป็นการเมืองและระเบียบทางการเมืองที่ถูกที่ดีด้วย พร้อมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะเป็นการเน้นรูปแบบการเมืองในลักษณะของอุดมคติ อุดมการณ์ แนวคิด การศึกษาวิเคราะห์ โดยยึดหลักจริยธรรมและคุณธรรมของผู้ปกครองว่าที่ดีที่สุดหรือที่เลวที่สุดเป็นอย่างไร รูปแบบการปกครองที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร โดยเกิดจากการศึกษา ค้นคิดขึ้นมาเองของนักปราชญ์เป็นส่วนมาก โดยไม่ได้มีการศึกษาทดสอบ วิเคราะห์ในเชิงวิทยาการที่เป็นที่ยอมรับได้ในหลักการว่า ถูกต้องเที่ยงตรง เพียงแต่อาศัยความมีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือของเจ้าของแนวความคิดเท่านั้น ก็นำไปสู่แนวทางการปฏิบัติ ซึ่งผลที่ตามมาจึงเกิดการเมืองการปกครองในหลากหลายรูปแบบ หลายระบบ และหลายลัทธิ ซึ่งการศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยโบราณนี้ จึงมีลักษณะเหมาะที่จะเป็นการศึกษาปรัชญา หรือประวัติศาสตร์มากกว่ารัฐศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชรินทร์ สันประเสริญ. (2554). ปรัชญาและอุดมการณ์ทางการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2552). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 10 ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิสิษฐิกุล แก้วงาม. (2550). สหวิทยาการสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สายธาร.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2535). ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น บทวิเคราะห์โสเกรตีส. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2539). แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2556). แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมภาร พรมทา. (2538). ปรัชญาสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2523). ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุขุม นวลสกุล และโกศล โรจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2526). การเรียนการสอนวิชาปรัชญาการเมืองเบื้องต้นในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ใน รายงานเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

dhrammada. (2561). Philosophy & Religion. Retrieved October 13, 2561, from https://dhrammada.wordpress.com/philosophyreligion

Leo Strauss. (1959). What is Political Philosophy ? and other studies. New York: The Free Press.

Leo Strauss and Joseph Cropsey (eds). (1963). History of Political Philosophy. Chicago: Rand Mcnally & Company.

Stephen D. Tansey. (2004). Politics : the basic. (3rd Edition). London: Routledge.