บทบาทนางวิสาขาในการบำรุงพระพุทธศาสนา

Main Article Content

น้อย งอกวงษ์

บทคัดย่อ

          ความเสียสละของนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นบุคคลตัวอย่างของสังคมชาวพุทธอย่างแท้จริง เพราะเป็นหญิงเบญจกัลยาณีที่สวยที่สุดคนหนึ่งของโลก มีจิตใจน้อมนำในพระพุทธโอวาทจนสามารถบรรลุธรรมด้วยวัยเพียง 7 ขวบ มีน้ำใจรอบทิศ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีงาม มีวิสัยทัศน์ยาวไกลในการให้ทานด้วยสิ่งของที่จำเป็นและเหมาะสมแก่หมู่สงฆ์ จึงได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของทายิกาแห่งการให้ ดังนั้น นางวิสาขาจึงมีคุณูปการที่สำคัญยิ่งในการช่วยบำรุงพระพุทธศาสนาและเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนให้สืบต่อยาวนานมาจนถึงปัจจุบันนี้ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบแก่อุบาสิกายุคใหม่ที่เพียบพร้อมไปด้วยวิชาและจรณะ ในอีกมุมหนึ่ง นางวิสาขาถือเป็นยอดหญิงในสมัยพุทธกาลที่มีศรัทธาสูงสุดต่อพระบรมศาสดา นางมีความเพียบพร้อมในทุกสิ่งที่มนุษย์โลกพึงมี เช่น มีฐานะร่ำรวย มีฐานะทางสังคม มีฐานความรู้ชั้นสูง เป็นต้น ทั้งยังเป็นสตรีที่เปี่ยมด้วยความเฉลียวฉลาด มีความรับผิดชอบอย่างสูงต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งครอบครัวตนและครอบครัวสามี ด้วยเหตุนี้ นางวิสาขาจึงเป็นที่รักใคร่ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว รวมถึงทาสบริวาร คนใช้ และแม้กระทั่งกรรมกร เป็นอาทิ ปัจจัยเหล่านี้จึงมีส่วนผลักดันให้นางวิสาขาก้าวขึ้นมาบรรลุโสดาบันแต่เยาว์วัย ประกอบกับการได้รับฟังธรรมะเทศนาจากพระพุทธเจ้า ด้วยการมองการณ์ไกลจึงทำให้นางวิสาขาให้ทานด้วยการถวายผ้าอาบน้ำฝน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการให้ทานเพียงสิ่งเดียวที่ยังเห็นอยู่ในปัจจุบันกาล แสดงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่จนถึงทุกวันนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธมมจร . (2552). ปกิณกรรม 10 สุดยอดสตรีในพุทธศาสนา. เรียกใช้เมื่อ 11 สิงหาคม 2561 จาก htts:mgronline.com>detail

ประคอง สิงหนาทนิติรักษ์. (2516). บทบาทของแม่ชีไทยในการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัญญา ใช้บางยาง. (2555). 75 อุบาสก พุทธสาวกในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระเทพโพธิวิเทศ. (2556). วิสาขามหาอุบาสิกา. กรุงเทพมหานคร: พริ้นท์ซิตี้.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2559). หนังสือ 75 อุบาสกพุทธสาวกในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระมหากมล ถาวโร (มั่งคํามี). (2543). สถานภาพสตรีในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ญนภา เพ็ญแสนโสม. (2561). การบำรุงศาสนาอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 11 สิงหาคม 2561 จาก www.huapho.go.th/site/attachments/122/k98

ภัทรวรรณ จันทนชัย. (2553). ความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2561 จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31169&start=15

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา. (2551). ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม. ใน ธรรมะเพื่อชีวิต ฉบับวันขึ้นปีใหม่ 2551. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบูรณศิริมาตยาราม.

วนิดา ฉายาสูตบุตร. (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของนางสามาวดีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรนุช พรมจักร์. (2560). บทบาทสตรีในพระพทธศาสนาสมัยพุทธกาล. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.