ศึกษาวิเคราะห์การคารวะบูชาตามนัยพระไตรปิฎก ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

บุญส่ง สินธุ์นอก
กฤติพิสิฐ จ่าพันธ์
พระมหาศักดิ์ดา สิริเมธี (หารเทศ)

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการเคารพบูชาตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา การเคารพบูชาของอินเดียโบราณ อิทธิพลของการเคารพบูชาในพระพุทธศาสนา ในสังคมไทย โทษของการไม่เคารพบูชาและประโยชน์ของการเคารพบูชา และการบูชากับแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาชีวิต ผลจาการศึกษาพบว่า การเคารพในสังคมอินเดียโบราณ ได้รับอิทธิพลมาจากการเคารพบูชาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งมีพื้นฐานจากความกลัวภัยอันตรายของธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงหาแนวทางเพื่อความชัดเจนและความปลอดภัยในชีวิตด้วยการแสดงความเคารพบูชา แต่กระนั้นการแสดงความเคารพจักต้องประกอบด้วยปัญญาและความเชื่อที่ถูกต้องอย่างแท้จริง เมื่อมนุษย์ปรารถนาความสุขในชีวิตและปรารถนาความสามัคคีในสังคม มนุษย์พึงต้องปฏิบัติตามหลักการบูชา ด้วยการปลูกฝังนิสัยการบูชาสักการะให้เกิดขึ้นในตัวเอง เพื่อเป็นการพัฒนาชีวิตให้ดำเนินไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง และมีความสงบสุขตลอดไป


ผลการวิจัย


การเคารพบูชาพระพุทธเจ้าตรัสว่า มงคลอันประเสริฐ พื้นฐานที่สำคัญของการการบูชา เกิดจากความกลัวภัยอันตราย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตจึงทำการบูชา โดยมีความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งจึง มีการบูชา แต่ความเชื่อจะต้องประกอบด้วยปัญญา จึงเป็นความเชื่อความเลื่อมใสที่ถูกต้องแท้จริง


พื้นฐานที่มีความสำคัญประการหนึ่งของการทำการสักการบูชา คือ ระเบียบวินัย อันเป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบของสังคม เพื่อสันติสุข และพึงศึกษาให้ครบตามหลักของไตรสิกขาในพระพุทธศาสนา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หลักทั้ง 3 ประการนี้ จะสร้างเสริมให้คนมีศีลธรรมในจิตใจ และมีระเบียบวินัยในตนเอง ส่งผลให้มีการสักการบูชาในบุคคลเหล่านั้น โดยมองเห็นคุณค่า และคุณงามความดีของบุคคลเหล่านั้น


หลักธรรมสาราณียธรรม 7 คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพกันซึ่งกันและกัน การเคารพนับถือกัน ช่วยเกื้อกูลกันและมีความสามัคคีกัน และอปริหาริยธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม คือ มีแต่ความเจริญ เป็นหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้มีการแสดงความเคารพ และบูชาซึ่งกันและกันตามลำดับอาวุโส


การแสดงความเคารพ กราบไหว้บูชา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ทำให้เรื่องของการแสดงความเคารพบูชาซึ่งกันและกัน ลดน้อยถอยลงไปจากสังคมไทย จึงนำหลักธรรมเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ เส็งประชา. (2539). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ธรรมลักขิต. (2537). พระพุทธศาสนา: ศาสนาแห่งปัญญา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรวมสาส์น จำกัด.

บุญมา จิตจรัส. (2533). มงคล 38 ประการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมมหาวีรานุวัตร. (2541). มงคลทีปนี หรือ มงคลสูตร 38 ภาคพิสดาร. กรุงเทพมหานคร: ส.ธรรมภักดี.

พระมหานิกร สวรรณดี. (2544). การศึกษาวิเคราะห์หลักความเชื่อเรื่องระบบวรรณะของชาวฮินดูในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะชาวฮินดูและนักศึกษาศาสนาในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ . มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมะลิน กิตฺติปาโล. (2540). ความสำคัญของศรัทธาในคำสอนพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต . มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ. (2536). คติความเชื่อของชาวอีสาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.