การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

บวร ปุยะติ
สังวาลย์ เพียยุระ
ธีระศักดิ์ บึงมุม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ         1) เพื่อศึกษาสภาพการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน  3) เพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา     จำนวน 414 คน และครูผู้สอน จำนวน 327 รวมทั้งสิ้นจำนวน 468 คน และกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน และครูผู้สอนจำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ    ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test แบบ Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) การทดสอบหาค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis)


ผลการวิจัย พบว่า


การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านมี         การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.44 โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ      ด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ด้านการบริหารตามหลักวิริยะ ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = 4.37


             การเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยผู้บริหารสถานศึกษามี     การปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ และด้านการบริหารตามหลักวิมังสา มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการบริหารตามหลักวิริยะ มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่      ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันแนวทางใน           การส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4  ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรมีใจรักในการพัฒนาการเรียนการสอน และ       มีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล ด้วยความโปร่งใส ตลอดถึง   การสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักวิริยะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรมีความเพียรพยายามในการพัฒนาการเรียนการสอน และ         มีการจัดฝึกอบรมดูงานติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักจิตตะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรมีความเอาใจฝักใฝ่ในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา และด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรพิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (19 สิงหาคม 2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 7-8.

ราชกิจจานุเบกษา. (24 สิงหาคม 2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550. ราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 124, ตอนที่ 47 ก,, หน้า 15.

ว. วชิรเมธี. (2551). คนสำราญ งานสำเร็จ,. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรานี เขต 4. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2561. อุดรธานี: กลุ่มงานนโยบายและแผน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก.

Krejcie Mogan, (อ้างใน บุญชม ศรีสะอาด). (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: รงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พุทธทาสภิกขุ. (2562, มกราคม 10). ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี. เข้าถึงได้จาก http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/itibath4.html