ทักษะแห่งการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ความท้าทาย สำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ศุภกาญจน์ วิชานาติ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาทักษะแห่งการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อนำเสนอแนวคิดทักษะการจัดการ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะใหญ่ 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ        3 ทักษะ คือ 3Rs 8Cs และ 2Ls


  แนวคิดทักษะการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์แนวคิดโดยใช้หลักไตรสิกขาโดยพัฒนาทักษะต่าง ๆ          ตามกระบวนการของโยนิโสมนสิการและปรโตโฆสะ โดยใช้แนวทางการสอนสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เอามาเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอน เพื่อมุ่งสู่        การปฏิบัติในชั้นเรียนของนักเรียน เช่น การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงานหรือ      การแสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องได้จริง โดยสามารถเพิ่มการแก้ปัญหา การคิด  เชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ตามกรอบทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือการช่วยสอนโดยใช้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ 


          สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 รูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดที่ช่วยส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 คือการพัฒนาความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียน และตัวผู้สอนหรือครูต้องมีรูปแบบการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน สามารถช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลาย และสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้ รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากัน การสื่อสารเสมือนและผสม โดยใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

วรลักษณ์ คำหว่าง และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

วิจารณ์ พานิช. (2553). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วิงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วิงศ์.

ศิริลักษณ์ นาทัน. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อของโรงเรียนต้นแบบในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

Kay,K. (2017.) Two Tools for 21st Century School and Districts. Retrieved January, 2017 from www.thirteencelebration.org/ blog/edblog-two-tools-for-21-st-century-schools-and-districts-by-den-kay/2903/

Partnership for 21st Century Learning (P21). (2009). Framework for 21 st Century Learning Retrieved January, 2017 from Retrieved January 2, 2017 from http://www.p21.org/storage/ documents/P21_ Framework_Definitions.pdf