รูปแบบการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย – ลาว

Main Article Content

พระครูภัทรสิริวุฒิ (เที่ยงธรรม)
ทองคำ ดวงขันเพ็ชร
อภิวัฒชัย พุทธจร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้     เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ (3) เพื่อส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัย พบว่า


         การจัดการแหล่งโบราณคดี เป็นการบริหารการจัดการวางแผนในการกำหนดจุดหมายและอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รูปแบบและกระบวนการจัดการแหล่งโบราณคดีของไทย ดำเนินการจัดรูปแบบการจัดการเชิงนโยบาย การจัดการแบบมีส่วนร่วม และการจัดการแหล่งโบราณคดีเชิงพื้นที่ ส่วนรูปแบบกระบวนการจัดการแหล่งโบราณคดีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ดำเนินการโดยรูปแบบกระบวนการจัดการแหล่งโบราณคดี ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม เป็นการวางนโยบายของรัฐบาลทางด้านกฎหมายและระเบียบการส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เริ่มต้นจากการสร้างเครือข่ายด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรและกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านการวางแผนการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวิสัยทัศน์ของชุมชน วัตถุประสงค์และนโยบายของแผน การจัดหาและกำหนดงบประมาณ วิธีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการกำหนดเครื่องมือเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวและการพัฒนาคนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). วิถีไทยการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

นิคม จารุมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : เพรสแอนด์ดีไซน์.

ปิ่นเพชร จำปา. (2545). วัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนไทย พ.ศ. 2394-2544. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระครูกุสินาราพิทักษ์. (2503). ประวัติศาสตร์ลาว. กาฬสินธุ์ : บริษัท กิมหลีหงวน จำกัด.

พระครูโพธิสารกิจ. (24 สิงหาคม 2561). การจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (ดร. พระครูภัทรสิริวุฒิ, ผู้สัมภาษณ์)

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2535). คุณธรรมและพุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรมและโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง. (2553). การจัดการการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอกในเกาะรัตนโกสินทร์. ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชรัตนาลงกรณ์. (30 กันยายน 2561). การจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (พระครูภัทรสิริวุฒ, ผู้สัมภาษณ์)

พินิจ จารุสมบัติ. (2537). หนองคาย. กรุงเทพมหานคร: มังกรการพิมพ์.

วรรณา วงษ์วานิช. (2549). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย. (2559). เที่ยวหนองคาย เมืองหน้าอยู่ ประตูสู่อาเซียน. หนองคาย : ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว.