ความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย

Main Article Content

ชินานาง กิจเกียรติ์
ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์

บทคัดย่อ

          ความสุขเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และคุณภาพการให้บริการงาน หนองคายเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยผู้คนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดี มีความสุข งานวิจัยฉบับนี้จึงสนใจที่จะศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองหนองคาย เนื่องจากเป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการให้บริการต่าง ๆ ในจังหวัด และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองหนองคาย มีความสุขในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงมาก และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองหนองคาย ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิภา พรมจวง. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบของผู้นำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ขนาดขององค์การ กับบรรยากาศองค์การของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินดาวรรณ รามทอง. (2558). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่: การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุตามกลุ่มประสบการณ์การทำงาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จิรนันท์ ศรีภิรมย์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของครูและบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ, วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

เทศบาลเมืองหนองคาย. (2559). แผนพัฒนาสี่ปี พ.ศ. 2561-2564. หนองคาย: สำนักปลัดเทศบาลเมืองหนองคาย.

โนรี มีกิริยา และ อุทัยรัตน์ แสนเมือง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2).

บุญจง ชวศิริวงศ์. (2550). Happy Workplace. วารสารพัฒนาสังคม, 9(2).

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล , บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถเผชิญฝ่าฟันอุปสรรค กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำ งานพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. การศึกษาอิสระมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาวินี พลายน้อย และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 92-105.

วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2).

ศิรสิทธิ์ ทุมสา และ ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทผู้ผลิตยานยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562, มีนาคม 15). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. Retrieved from http://www.ldd.go.th/.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2561). การศึกษาความสุขในการทำงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21.

สุภาวดี ทองบุญส่ง. (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารวิชาการ Veridian e-Journal, 6(2), 541-551. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/30614/ 26422.

Taro Yamane. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed. New York: Harper and Row.