ความร่วมมือรูปแบบประชารัฐในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา น้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

น้ำฝน ทุมซ้าย
เขมณัฐ ภูกองไชย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการหนุนเสริมของหน่วยงานราชการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว น้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมและได้ดำเนินการวิจัย 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาการหนุนเสริมของหน่วยงานราชการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว น้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ วิธีการเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 20 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ และการพรรณนาความตามเนื้อหา  ระยะที่ 2 ผลการศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาน้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ วิธีการเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การหนุนเสริมของหน่วยงานราชการในบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำพระ ทั้ง 15 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำพระ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ในการหนุนเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวต่อกลุ่มชุมชนของหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เช่นด้านงบประมาณ ด้านอุปกรณ์ ด้านการวางแผน ด้านสนับสนุนเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือในการบริการจัดการ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความสามัคคีเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย