ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยและการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยในที่รโหฐานเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบปัญหาเรื่องการค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยและการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยต่อไปในเวลากลางคืน ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความของประเทศไทยว่า บทบัญญัติ และแนวปฏิบัติสอดคล้องกับหลักสากลหรือไม่ ควรจะมีการแก้ไขใหม่ ความล้าหลังของกฎหมาย บทบัญญัติกฎหมาย แนวปฏิบัติปัจจุบันในเรื่องนี้ยังมีความสับสน ทำให้มีส่วนในการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนเพราะกฎหมายมีบัญญัติไว้นานมาแล้ว ผลการวิจัยพบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้อำนาจตรวจค้นในที่รโหฐานเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจ การศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส เวียดนาม และไทย มีหลักเกณฑ์ในการค้นในที่รโหฐานเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือ กฎหมายให้ค้นที่รโหฐานในเวลากลางวันเป็นหลัก ส่วนการค้นในเวลากลางคืนเป็นข้อยกเว้น ผู้วิจัยจึงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า ปัญหาที่มักจะมองข้ามไป คือการกำหนดว่าเวลากลางคืนตามมาตรา 96 (1) เริ่มตั้งแต่เวลาใด ควรกำหนดเสียใหม่เพื่อความชัดเจนว่าเวลากี่นาฬิกาที่ถือเป็นเวลากลางคืน การละเมิดสิทธิโดยอ้างกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตามมาตรา 96 (2) การเปิดช่องให้เจ้าพนักงานใช้ข้ออ้างเรื่องผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ ตามมาตรา 96 (3) เพื่อปฏิบัติการที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ โดยไม่ได้กำหนดว่าผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ เป็นผู้กระทำความผิดในคดีอาญาข้อหาใด โทษเท่าใด เพื่อให้สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้
Article Details
References
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2550). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
พงษ์เทพ ทรัพย์ศรี. (2556). การค้นหาตัวบุคคลในที่รโหฐานในเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,สาขาวิชานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วลัยลักษณ์ จันทดิษฐ์. (2555). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีรพล กุลบุตร. (2548). กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการค้น การจับ และการควบคุม. กรุงเทพมหานคร : ธนรุ่งชัย.
ศศิวิมล เสมอใจ. (2552). การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการออกหมายจับโดยศาล. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: เจริญรัฐการพิมพ์.
อุดมศักดิ์ สิทธิพงษ์. (2548). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.