ปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะราย ตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน: ศึกษากรณีได้เนื้อที่ดินเกินจากหลักฐานเดิม

Main Article Content

จิรารัตน์ สว่าง
เพิ่ม หลวงแก้ว
กำพล วันทา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะราย ตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการออกหนังสือแสดงสิทธิ์เฉพาะราย ก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับ ทั้งที่ได้เนื้อที่ปกติและได้เนื้อที่ดินเกินจากหลักฐานเดิม  โดยศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พร้อมทั้งหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายเกี่ยวข้องกับการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะรายให้กับประชาชน วิธีการดำเนินการงานโดยศึกษาเหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร/หลักฐาน เกี่ยวกับปัญหาการออกหนังสือแสงดสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะรายที่ทำในรูปแบบของคณะกรรมการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย คำสั่งกรมที่ดินที่ 4829/2555 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ที่ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคระกรรมการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย กฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง เอกสารทางวิชาการ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและรวบรวมโดยการวิเคราะห์เอกสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง    


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะราย ตามมาตรา 59 และ               มาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมากรมที่ดินได้มีคำสั่งที่ 4829/2555 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2555  พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายที่ไม่มีรูปแบบ หลักเกณฑ์ในการดำเนินการ ในการพิจารณาออกหนังสือรับรองสิทธิ์ในพื้นที่ปกติ และพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถได้รับเอกสารสิทธิที่ควรจะได้รับ นอกจากนี้ยังพบปัญหาของคุณสมบัติหรือที่มาของคณะกรรมการ ที่มาจากเจ้าหน้าที่ของ กรมที่ดินทั้งหมดไม่มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำให้ไม่เกิดการถ่วงดุลในการพิจารณาของคณะกรรมการ อีกทั้งยังเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการใช้ดุลพินิจในการพิจารออกหนังสือรับรองสิทธิ์โดยไม่มีบทกฎหมายให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้ดุลพินิจโดยสุจริต ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้อำนาจของคณะกรรมการที่อำนาจเพราะกฎหมายมีบทลงโทษที่เคร่งครัด ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองคณะกรรมการ โดยต้องมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะรายทั้งพื้นที่ปกติ และเป็นเกาะให้ได้มีสิทธิ์ได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์โดยเร็วโดยการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ รวมถึงการกำหนดข้าราชการหน่วยงานอื่นที่มีความรู้ด้านกฎหมายที่ดินร่วมกันเป็นคณะกรรมการเพื่อที่จะได้มีการถ่วงดุลอำนาจในการพิจารณาออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ อีกทั้งจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ที่สุจริตได้รับความคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมที่ดิน. (2543).วิวัฒนาการออกโฉนดที่ดินและงานทะเบียนที่ดิน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นัยนา เกิดวิชัย,พลตำรวจหญิง. (2549). รายงานวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่รัฐเวนคืนจากประชาชน.กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาของวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

ยศกฤต ชูศรี. (2550). การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่มีผลกระทบต่อการออกโฉนดที่ดิน, กรณีศึกษาอิสระ เสนอมหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชากฎหมายมหาชนบัณฑิตวิทยาลัย

ร. แลงกาต์. (2558). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยกฎหมายที่ดิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วราง ศิริพาณิชฐ ว่าที่ร้อยตรีหญิง. (2516). การบริหารที่ดินอำเภอ.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิริ เกวลินสฤษดิ์. (2534). คำอธิบายประมวลกฎหมายที่ดินพร้อมกฎกระทรวง.กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์

สถิต จำเริญ. (2549). แดนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน :ศึกษากรณีการทำเหมืองใต้ดิน.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.