พระพุทธศาสนากับการพัฒนาทางการเมืองการปกครองในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาทางการเมืองการปกครองในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเป็นมาและลักษณะสำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนา ที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นแนวทางในพัฒนาการเมืองการปกครอง สำหรับผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ว่ามีความจำเป็นและสำคัญกับสังคมไทยอย่างไร เพราะด้วยประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก ในอัตราเฉลี่ย 94.6% ของคนไทยทั้งประเทศ พระพุทธศาสนาจึงถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ โดยคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองในหลายกรณีด้วยกันดังที่ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองจะต้องยึดถือหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวหรือเป็นแนวทางในการปกครองบริหารงาน เช่น หลักสัปปุริสธรรม อันเป็นธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ เป็นหลักธรรมที่เหมาะแก่ผู้ที่ทำหน้าที่ทางการเมือง ในการจัดสรรหรือแบ่งปันผลประโยชน์ หรือสิ่งที่มีคุณค่าให้ประชาชน สังคม โดยส่วนรวม หรือนำมาสู่การปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อให้เกิดองคาพยพการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในทางสังคม ที่นำไปสู่การพัฒนาในหลากหลายมิติต่อไป
Article Details
References
กมล สมวิเชียร. (2516). ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2517). อุดมการทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. 2535. รัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2539). จิตวิทยาการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : วัชรินทร์การพิมพ์
ทวี ผลสมภพ. (2534). ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามตำแหง.
ประสิทธิ์ จันรัตนา. (2527). พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระมหากฤตวิทย์ อธิฏฺฐาโน (สนธิสุข). (2548). ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). การเมือง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อ [7 ตุลาคม 2561].
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุพัตรา สุภาพ. (2535). ปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช
Kailash Chand Jain, Lord Mahavira and His Times, (Delhi : Motilal Banarsidass Publishers PVT. ltd., 1991,) pp.231-232.