ยุทธวิธีการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ผการัตน์ พินิจวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง “ยุทธวิธีการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเป็นมาและลักษณะสำคัญของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองจากสังคมอยู่แบบพอเพียง มาเป็นสังคมที่มุ่งมั่นอยากอยู่แบบมั่งคั่งและร่ำรวย มีการสะสมส่วนเกินในการผลิตเพื่อขาย มุ่งแสวงหากำไรมากที่สุด และส่งเสริมการบริโภคในนามของ “การพัฒนา” รวมถึงการทำให้ทันสมัย ซึ่งในความเป็นจริง คุณภาพชีวิตของคนไทยมิได้เพิ่มขึ้นจริงตามดัชนีการบริโภคและกำไร ตามวัตถุสิ่งของเครื่องอำนวยความสะดวกที่ล้นเหลือแต่อย่างใด ปัจจุบันจึงถือเป็นยุคสมัยที่ผู้คนมีหนี้สินมากมาย ครอบครัวแตกแยกล้มเหลว เด็กขาดความอบอุ่น ชุมชนล่มสลาย พ่อแม่ขายทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมาบริโภคตามกระแสทุนนิยม ทั้งนี้ โดยหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน โดยอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกศประภา วะนาพันธ์, สังวาล สมบูรณ์ และ จุฑามาส ชมผา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (1), 106.

กัญญา มนอินหว่าง และวัลลภา ศรีทองพิมพ์. (2551). แนวทางการพัฒนาระบบการ จัดการของ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. [Online] https://www.matichon.co.th/columnists/news_588848 [14 ธันวาคม 2561]

นาริน คชฤทธิ์. (2556). กลยุทธ์การนานโยบายการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลันนเรศวร. 21 (3), 125-126.

ประภาส สุทธิอาคาร, จำนง แรกพินิจและสมคิด วงศ์พิพันธ์. (2551). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา.

วงศ์สถิตย์ วิสุภี. (2560). บทบาทชุมชนท้องถิ่นกับการขับเคลื่อนสู่โมเดลประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). บทความเศรษฐกิจพอเพียง. [Online] http://office.nu.ac.th/edu_teach/ASS/Download/vchk -หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-สิรินภา.pdf [20 ตุลาคม 2561]

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2558). ตัวอย่างความสำเร็จ.[Online]
http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/SufficiencyEconomy.aspx?p=5 [30ตุลาคม 2561]

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 10 (2), 70-71.

พรชัย เจดามาน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. [Online]. http://personnel.obec.go.th/hristh/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E/ [30ตุลาคม 2561]