การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติศาสนา ของคณะสงฆ์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติศาสนาของคณะสงฆ์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของคณะสงฆ์ในการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติศาสนา จากการศึกษาพบว่า การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันของประชาชนในชุมชนอย่างสันติสุข เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา ผู้นำทางศาสนามีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนาและยกระดับจิตใจ คำสอนของแต่ละศาสนาสอนให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดี แสวงหาสันติสุข มีความสงบสุข ดังนั้น ไม่ว่าจะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาใด ๆ ก็ตาม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความปกติสุข
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
จรรยา ศิริอรรถ,และคณะ. (2559). การจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน โดยพุทธสันติวิธี : กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. สันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 4 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคน 2559.
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, และคณะ. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม - ธันวาคม 2562.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2556). การดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. ตาก: มปท.
สุริยนต์ น้อยสงวน. (2560). รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของ คณะสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ . สันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ, 2560.
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, และคณะ. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม - ธันวาคม 2562.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2556). การดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. ตาก: มปท.
สุริยนต์ น้อยสงวน. (2560). รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของ คณะสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ . สันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ, 2560.