ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

ธัญญลักษม์ มหาศิริพันธ์
สิทธิชัย สอนสุภี
บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1  2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 219 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.969 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3) ปัจจัยบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์กร (X5) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน (X6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X2)  และด้านวัฒนธรรมองค์กร (X4)  สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1  ได้ร้อยละ 65.8 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแสดงสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


Zy’ = 0.262(ZX5) + 0.248(ZX6) + 0.248(ZX2) + 0.151(ZX4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา เกษร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเทคโนโลยีบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian EJournal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1342-1354.

ณปภัช อำพวลิน. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1.ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ดำรงค์ ชลสุข. (2560). ปัญหาการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. เรียกใช้เมื่อ 4 มิถุนายน 2563 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_478550

ทวี วาจาสัตย์. (2561). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 394 – 410.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรีแก้ว เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา : การสร้างทฤษฎีจากฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 9(16), 69-82.

พรภวิษย์ นันทชัชวาลย์กุล. (2560). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลตอ่ประสิทธิผล ของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(2), 65 - 72.

พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค และ จิราภรณ์ กาแก้ว. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(12), 95 – 108.

มนัสนันท์ สงวนแสง. (2559). ปัจจัยเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งนิรัญ พุทธิเสน. (2557). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งเรือง ศักดิ์รัตนมาศ. (2556). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนางเม้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ Management and Organization Behavior. กรุงเทพมหานคร : วีระฟิมพ์และไซเท็กซ์.

สรคุปต์ บุญเกษม และคณะ. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 217-230.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2561). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2561. เรียกใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2563 จาก http://www.nkedu1.go.th/nk/?i d=files_s

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2563 จาก https://is.gd/1APMhY

อภิชชยา บุญเจริญ. (2556). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2562). ปัญหาโรงเรียนชนาดเล็ก. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2563 จาก https://www.thaipost. net/main/detail/44030.

Wayne K.Hoy & Cecil G.Miskel. (2013). Educational Administration theory, Research and Practice. Ninth Edition : Published by McGraw-Hill.