มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน การโฆษณาเชิญชวนให้เข้าเล่นการพนันออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการโฆษณาเชิญชวนให้เข้าเล่นการพนันออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์และวิเคราะห์ถึงปัญหาในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการโฆษณาเชิญชวนให้เข้าเล่นการพนันออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์ของประเทศไทย พร้อมทั้งเปรียบเทียบ มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการโฆษณาเชิญชวนให้เข้าเล่นการพนันออนไลน์ ผ่านสื่อออนไลน์ ระหว่างของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการป้องกันการโฆษณาเชิญชวนให้เข้าเล่น การพนันออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์ ให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้นไป โดยการศึกษานั้น ใช้วิธีวิจัยเอกสาร
จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจน ไม่สอดคล้องต่อสภาพสังคมปัจจุบัน ทั้งมีบทลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืนค่อนข้างเบา ทำให้ไม่สามารถนำกฎหมายที่มีในปัจจุบันมาปรับใช้ได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง และยังส่งผลถึงการใช้ดุลยพินิจในเบื้องต้นของ ผู้บังคับใช้กฎหมาย อันอาจเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง และไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 โดยให้มีการบัญญัติถึงความหมายของ “การพนัน” “การพนันระยะไกล” “การโฆษณาการพนัน” และ “การสื่อสารระยะไกล” เพื่อให้เกิดความชัดเจนถึงลักษณะของการกระทำดังกล่าว และบัญญัติถึงเหตุยกเว้นโทษ กรณีผู้กระทำไม่ได้มีเจตนาในการกระทำความผิด พร้อมทั้งแก้ไขมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในมาตรา 14 และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองเด็กและการระงับปิดกั้นเว็บไซต์หรือสถานที่ออนไลน์ไว้ เป็นการเฉพาะเจาะจง
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. (2562). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2526. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2563 จาก https://deka.in.th/view-30235.html.
กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. (2513). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2473. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก https://deka.in.th/view-73722.html.
คงกริษ เล็กศรีนาคและคณะ. (2555). พฤติกรรมการเล่นการพนันของเยาวชน กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 12(4), 132-146.
คมวิชช์ พัฒนรัฐ. (2537). การวิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังใน เรือนจำจังหวัดนครปฐม. ใน ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร : เวิลด์เทรด.
ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2530). กฎหมายเกี่ยวกับความผิดของเด็ก : กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก.
ปริชญา จันทร์บาดาล. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ปิยอร เปลี่ยนผดุง. (ม.ป.ป.). กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์ของประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และแนวทางการปรับใช้พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 กับการพนันออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
________________. (2563). พระราชบัญญัติการพนันสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก https://1th.me/gK1SE.
พันธรัตน์ ศรีสุวรรณ. (2561). มาตรการและกลไกในการควบคุมการพนันออนไลน์ของต่างประเทศและแนวทางในการสร้างกลไกในการควบคุมการพนันออนไลน์ของประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(1), 439-465.
ไพศาล ลิ้มสถิต. (2555). การพนันออนไลน์การทายผลฟุตบอลการเล่นเกมออนไลน์ ปัญหาในการปรับใช้พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478. ใน รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2557). นิติเศรษฐศาสตร์ของระบบยุติธรรมทางอาญาของไทย. ใน รายงานทีดี อาร์ไอ, 57(104), 7-8.
ศิริชัย จันทร์สว่าง. (2545). การสร้างเครือข่ายครอบครัวบำบัดกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในชุมชนด้วยศาสนาอิสลาม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สาวิตรี ไพฑูรย์. (2533). ปัจจัยที่นำมาสู่การกระทำความผิดซ้ำของสตรี. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.