การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้ : ประวัติศาสตร์เส้นทาง และการเสริมสร้างเครือข่ายในประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ธนู ศรีทอง
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์
พระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตฺโต
ปัญวลี เสริมทรัพย์
ชายชาญ วงศ์ภักดี
พระครูสุเมธจันทสิริ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการ      เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับประชาคมอาเซียน และเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยผสม โดยวิธีการศึกษาจากเอกสารและการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 499 รูป/คน ใน 12 พื้นที่ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า (1) อีสานใต้มีกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่า 4 กลุ่ม คือ เขมร กูย ลาว และไทยโคราช แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานมหาวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ วัดเขาศาลา วัดป่าอาเจียง       วัดไพรพัฒนา และวัดสิรินธรวนารามภูพร้าว (2) การพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการ มีแนวทางพัฒนา 6 ด้าน (3) ศักยภาพในการสื่อสารภาษาอังกฤษมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน (4) มีการเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งในระดับชุมชน ระดับเขตพื้นที่ และระดับชาติ 5) สภาพปัญหาผลกระทบ คือ    การบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ประกอบด้วย 9 ยุทธศาสตร์ 10 เป้าหมาย และ 36 มาตรการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). ผลการดำเนินงานประชาคมอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี. (2547). ปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวไทยนานาชาติปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย.

นันทนา กปิลกาญจน์. (2542). ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก (ฉบับปรบปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

พินิจ จันทร และคณะ. (2556). เปิดประตูท่องเที่ยวอาเซียนเชื่อมโยง 10 ประเทศเป็นหนึ่งเดียว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราณี อิสิชัยกุล และคณะ. (2555). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมชาย สนั่นเมือง. (2541). ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการพฒนาการท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว. 17(เมษายน-มิถุนายน), 25-33.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานาคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ม.ป.ท.

สุพัตรา สุภาพ. (2555). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

Byrne, D. (1990). Teaching Oral English. Singapore : Longman.