ปัญหาทางกฎหมายกรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์

Main Article Content

วัชรินทร์ เหรียญหล่อ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายกรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์  ซึ่งพบปัญหาดังนี้ (1) ปัญหามูลเหตุในการดื่มแอลกอฮอล์ (2) ปัญหาผลกระทบจากการใช้แอลกอฮอล์         (3) ปัญหาทางกฎหมายในการตรวจวัดแอลกอฮอล์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารกฎหมาย


ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหามูลเหตุในการดื่มแอลกอฮอล์ เกิดจากการอยากทดลอง เพื่อเข้าสังคม  ดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน คลายเครียด มีทัศนคติว่า การดื่มแอลกอฮอล์กับกลุ่มเพื่อน หมายถึงการรักพวกพ้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ควรให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ออกกฎ ระเบียบในการควบคุมการห้ามจำหน่าย สถานที่ห้ามจำหน่าย วิธีการจำหน่าย สถานที่ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ และกำหนดอายุขั้นต่ำและขั้นสูงของบุคคลที่จะสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ (2) ปัญหาผลกระทบจากการใช้แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดโรคตับแข็ง โรคมะเร็ง และยังมีผลต่อพฤติกรรมด้านอื่น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำให้อารมณ์หงุดหงิด นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าว ในส่วนที่เกี่ยวกับนักเรียนนักศึกษา จะทำให้ความสนใจในการเรียนลดลง สมาธิลดลง สร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัว เกิดอุบัติเหตุ จึงควรมีการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดที่มีสาเหตุเกิดจากเมาสุราหรือแอลกอฮอล์ ในกรณีผู้กระทำความผิดซ้ำให้ได้รับโทษสูงขึ้น เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา (3) ปัญหาทางกฎหมายในการที่ผู้ขับขี่ปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ อ้างว่าอุปกรณ์การตรวจไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขอนามัย ซึ่งในการตรวจวัดแอลกอฮอล์ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีผู้มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การตรวจวัด และไม่ได้กำหนดให้ต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวงมหาดไทย. (2537). กําหนดให้การทดสอบผู้ขับขี่ว่าเมาสุราหรือไม่ ข้อ 3(1). ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 รก.2537/54ก/56/8 ธันวาคม 2537.

กรมคุมประพฤติ. (2563). ปิดยอด 7 วัน คุมประพฤติเมาแล้วขับ ทะลุ 12,000 คดี อุบลราชธานีครองแชมป์ประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://1url.ws/9jswM.

ณรงค์ พรหมประสิทธิ์. (2546). การนำนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุจราจรไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการเมาไม่ขับในเขตกรุงเทพมหานครของกองบังคับการตำรวจจราจร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นงนุช ใจชื่น และคณะ. (2560). สถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(1), 58-69.

บัณฑิต ศรไพศาล. (2549). การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารคลินิก, 22(1), 7-13.

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. (2542). พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 6). พ.ศ. 2542 มาตรา 142 วรรคสาม. รก.2542/20ก/13/25 มีนาคม 2542.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). 13 ตุลาคม 2561 เล่ม 135, ตอนที่ 82 ก.

วรรณา พัฒนาศิริ. (2555). กระบวนการยุติธรรมกับการแก้ปัญหาเมาแล้วขับ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

ไวพจน์ กุลาชัย. (2555). การบังคับใช้กฎหมายกรณีเมาแล้วขับในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์และไทย. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.