ศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดภูมิปัญญาหมอยาพื้นบ้านริมสองฝั่งโขง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดภูมิปัญญาหมอยาพื้นบ้าน และเพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดภูมิปัญญาหมอยาพื้นบ้านริมสองฝั่งโขง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ค้นคว้าจากการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มประชากรที่เป็นของหมอยาพื้นบ้านริมสองฝั่งโขงจำนวน 16 ท่าน แบ่งเป็นฝั่งไทย 5 ท่าน และฝั่ง สปป.ลาว 11 ท่าน
การวิจัยพบว่า 1) แนวคิดภูมิปัญญาหมอยาพื้นบ้าน พบว่า หมอยาพื้นบ้านเป็นหมอที่รักษาอาการเจ็บป่วยตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 8 ประเภทคือ หมอยาฮากไม้ หมอเป่า หมอเอ็นหรือหมอนวด หมอพระ หมอยาหม้อหรือหมอสมุนไพร หมอกระดูก หมอตำแย หมอฉีดยาหรือหมอเถื่อน 2) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดภูมิปัญญาหมอยาพื้นบ้านริมสองฝั่งโขง พบว่า การรักษาพยาบาลด้วยหมอยาพื้นบ้านของชุมชนริมสองฝั่งโขง เป็นทางเลือกลำดับต้น ๆ ในการรักษาโรคของประชาชน เพราะเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก ประหยัด และได้ผล ถึงแม้ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์แผนโบราณ ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการแพทย์สมัยใหม่ แต่หมอยาพื้นบ้านก็เป็นผู้ที่คอยบำบัดทุกข์ภัยให้กับชาวบ้านเป็นลำดับแรกเสมอ นอกจากนี้ หมอยาพื้นบ้านบางท่านยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการครองตน เช่น รักษาศีล ทำบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแนวคิดภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านของทั้งฝั่งไทยและลาว เป็นศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อาศัยความเชื่อ ความศรัทธา และทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการรักษาทั้งกายและใจควบคู่กันไปด้วย
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กรมแพทย์ชนบท. (2558). วิชั่นหมอยาไทย แต่ไร้การสนับสนุน. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558.
เกษม สุขสวัสิดิ์. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านวิถีชีวิตเกษตรชุมชนพึ่งตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนยฺรวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏธนบุรี.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2543). โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม. อุบลราชธานี : หจก. ศิริธรรมออฟเซ็ท.
เดชขจร ภูทิพย์. (2546). การเมืองเรื่องทรัพยากรน้ำ : ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการฝายราษีไศล. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนิดา ผาติเสนะ. (2561). เปรียบเทียบกระบวนการรักษาโรคมะเร็งระหว่างหมอพื้นบ้านไทยและลาว. วารสารชุมชนวิจัย, (12)3, 79-90.
นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว และสุภาภรณ์ ปิติพร. (2541). เดินป่าค้นหาภูมิปัญญา. วารสารสื่อพลัง วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร, (6)3, 45-49.
บุญเลิศ สดสุชาติ. (2553). มานุษยวิทยาสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ปิยนุช ยอดสมสวย และสุพิมพ์ วงษ์ทองแท้. (2552). โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. กรุงเทพมหานคร : คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระสุริยา มาตย์คำ. (2552). การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์. (2554). โครงการอุ้มชูครูหมอยาพื้นบ้าน. ปราจีนบุรี : มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : มติชน.
บุญมา (ไม่ทราบนามสกุล). (24 ตุลาคม 2558). แนวคิดหมอยาพื้นบ้านของ สปป.ลาว. (พระเดชขจร ขนฺติโธร, ผู้สัมภาษณ์).
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.