ปัญหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ในการทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ศึกษากรณีการแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด

Main Article Content

ประจักษ์ ทักษิณ
บัณฑิต ขวาโยธา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 หาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่ชัดเจนทางกฎหมายในเรื่องการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน กรณีแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการแบ่งแยกทางเอกสารสิทธิอย่างชัดเจนเท่านั้น กรณีผู้ใดผู้หนึ่งทำให้เสียทรัพย์จะเป็นความผิดหรือไม่ เมื่อได้กระทำต่อที่ดินในส่วนที่ตนเองครอบครองอยู่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร


         ผลการวิจัยพบว่า ระบบกฎหมายของประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีเป็นทรัพย์ของตนเอง กฎหมายของทุกประเทศถือว่าไม่เป็นความผิด 2) กรณีเป็นทรัพย์ของผู้อื่น ทุกประเทศถือว่าเป็นความผิด กรณีผู้กระทำความผิดได้กระทำต่อทรัพย์ของตนเอง แม้จะมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กฎหมายของทั้ง 3 ประเทศไม่ได้บัญญัติถึงการกระทำเหล่านี้ไว้ ผู้กระทำจึงไม่ผิดตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของไทยที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในตัวบทของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ว่าแม้ผู้กระทำได้กระทำต่อทรัพย์ของตนเองยังคงเป็นความผิดในกรณีที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย


          ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ควรมีการกำหนดแนวเขตการครอบครองทรัพย์ที่ระบุไว้ในฐานความผิดทำให้เสียทรัพย์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2) ควรมีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดไว้ในตอนท้ายสุดของบทมาตราในวรรคหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจได้ว่าหากมีการกระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ดิน ในกรณีมีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัดระหว่างเจ้าของรวมแล้ว ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

บัญญัติ สุชีวะ. (2530). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์.

ไพโรจน์ พลเพชร. (2547). โครงการวิจัยการติดตามและประเมินผลบังคับใช้รัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. ใน รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : เจริญรัฐการพิมพ์.

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2552). ทฤษฎีอาญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

อุทัย อาทิเวช. (2549). โทษในกฎหมายอาญาฝรั่งเศสโครงการวิจัย เรื่อง ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา. ใน รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.