ปัญหาความไม่เสมอภาคทางกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา

Main Article Content

ธนพร จุลศรี
สุนทรี บูชิตชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาการประเมินความเสี่ยงและการกำกับดูแลจำเลยในชั้นปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทย วิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาเทียบเคียงกับกฎหมายการปล่อยตัวชั่วคราว โดยการกำหนดเงื่อนไขของรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา


ผลจากการศึกษาพบว่า การปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทย ยังมีข้อบกพร่องที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม และความไม่เสมอภาคของจำเลย เหตุเพราะบทบัญญัติของกฎหมาย ได้จำกัดอัตราโทษแห่งคดีที่จำเลยสามารถเข้าร่วมโครงการประเมินความเสี่ยง และการกำกับดูแลจำเลยในชั้นปล่อยตัวชั่วคราว และต้องมีบุคคลรับรองความประพฤติ นอกจากนี้         การปล่อยตัวชั่วคราวโดยการประเมินความเสี่ยง จะเป็นวิธีการที่สามารถทำนายความเสี่ยงจากการปล่อยตัวชั่วคราวได้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยประกอบการตัดสินใจอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวของศาล และหลีกเลี่ยงการใช้ดุลพินิจของศาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ เพราะไม่ได้ยึดโยงอยู่กับหลักประกันที่เป็นเงินหรือทรัพย์สิน


จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายการปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทย โดยควรบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมเรื่องการประเมินความเสี่ยงไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 และนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) มาใช้ในการควบคุมจำเลยที่มีอัตราโทษสูงกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. (2561). ไม่มีเงินประกันตัว กองทุนยุติธรรมช่วยได้. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2563 จาก https://www.moj.go.th/view/14909.

ดุษฎี โยเหลาและคณะ. (2561). การนำวิทยาการบริหารความเสี่ยงในเชิงพฤติกรรมศาสตร์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปล่อยชั่วคราว. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.

ปาลิดา มณีโชติ. (2559). ปัญหาการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 11(2), 65-83.

พรพล เลากุล. (2558). การปล่อยชั่วคราวและการบังคับคดีผู้ประกัน กรณีศึกษาเฉพาะศาลจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

วรัญญา โชติพงศ์. (2559). แนวทางในการสร้างแบบประเมินความเสี่ยงในการปล่อยชั่วคราวก่อนพิจารณาคดีในกลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยคดียาเสพติด. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.