การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
ผลการวิจัยพบว่า จาการศึกษาสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงมากทั้งร่างกายและจิตใจ สังคม และทางด้านปัญญา จากสภาพปัญหาทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลง และนอกจากนี้ ปัญหาที่เกี่ยวโรครุมเร้าทำให้ชีวิตของผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงไปไปมาก เมื่อมีสาเหตุที่เกิดแต่ทางกาย ก็ย่อมส่งต่อทางด้านจิตใจ และความเป็นเปลี่ยนแปลงการอยู่ร่วมกับสังคมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เสียใจและหงุดหงิดง่าย รับประทานอาหารได้ไม่เหมือนกัน นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกหมดหวัง เบื่อหน่ายกับชีวิต การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุได้พัฒนาสุขภาพจิตโดยใช้วัดเป็นที่พัฒนาตนเอง เพราะมีความเป็นที่ สัปปายะและเป็นรมณีย์สถานเหมาะแก่การพัฒนาสุขภาพจิต ส่วนรูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุสามารถนำหลักธรรมคือ ภาวนา 4 คือ 1. กายภาวนา คือ การเจริญกาย 2. สีลภาวนา คือการเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล 3. จิตภาวนา คือ การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ 4. ปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา การฝึกอบรมปัญญา
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
จิรวุฒิ ศิริรัตน์. (2546). การจัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในทัศนะของผู้ปฏิบัติงาน. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐิติวรรณ แสงสิงห์. (2556). การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.
ดุษฎี สีตลวรางค์. (2532). การศึกษาในสังคมพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร สิงห์นวล. (2559). ลำดวนบานส่งกลิ่นหอมเย็นในวันผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=556&filename=index
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโตและคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักจิตภาวนาในพระพุทธศาสนา. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14). (2558). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 15 ก. หน้า 49 (5 มีนาคม 2558).
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2). (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 56 ก. หน้า 1 (15 กันยายน 2553).
วรปรัชญ์ คำพงษ์. (2557). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2554). แนวทางการมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายในกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2554). หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คาดการณ์ระบบสุขภาพในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์ จำกัด.
สำนักงานสถิติจังหวัดหนองคาย. (2557). สรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดหนองคาย พ.ศ.2557. เรียกใช้เมื่อ 28 เมษายน 2563 จาก https://is.gd/0SSfcs.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2554). คู่มือหลักประกันสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : สำนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชน.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สิริพร ทาชาติ. (2550). การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ : กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และคณะ. (2560). การพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างชีวสุขตามแนวทางการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม. ใน รายงานวิจัย, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสน่ห์ นามจันทร์. (2561). “วันผู้สูงอายุ” 13 เม.ย. อย่าทิ้งท่านให้อยู่เดียวดาย เฝ้ารอคอยลูกหลานกลับมาเยี่ยมในวันปี๋ใหม่เมือง. เรียกใช้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/694844/.
Tambonjun, (2561). วันผู้สูงอายุสากล. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม 2563 จาก http://chun.go.th/?p=1894