วิเคราะห์นโยบายการขับเคลื่อนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

Main Article Content

ศรีเสด็จ กองแกน
ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ ตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งเป็นการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) โดยจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนให้กับเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจน หรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน รวมทั้งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นการประกันสิทธิให้เด็กได้รับสิทธิโดยตรง ทั้งด้านการอยู่รอด แล้วยังเป็นการสร้างช่องทางให้เด็กเข้าถึงสิทธิในเรื่องอื่น ๆ ตามมา เป็นมาตรการให้พ่อแม่นำเด็กเข้าสู่ระบบบริการของรัฐ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สามารถนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ทั้งทางด้านสุขภาพ โภชนาการ เครื่องนุ่มห่ม และอุปกรณ์เครื่องมือในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โดยการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็ก คือการมุ่งเน้นให้เด็กทุกคนได้รับความมั่นคงทางรายได้ขั้นพื้นฐาน ทำให้สามารถเข้าถึงโภชนาการ การศึกษา การดูแล ตลอดจนสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นได้ บทบาทของภาครัฐในการอุดหนุนเด็ก จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อน นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม สามารถไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคมได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด. กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). คู่มือโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดประจำปีงบประมาณ 2561. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2563 จาก https://csg.dcy.go.th/th/implementation/operation-manual.

มาลี จิรวัฒนานนท์. (2558). เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร : การคุ้มครองทางสังคมด้านเด็กในสังคมไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(1), 114-145.

ราณี หัสสรังสี. (2557). เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร:เครื่องมือเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบสวัสดิการ. กรุงเทพมหานคร : คณะทำงานวาระทางสังคมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2550). คนไทยพร้อมจะจ่ายค่ารัฐสวัสดิการ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550.

วรวิทย์ เจริญเลิศ. (2555). ประเทศไทยกับแนวคิดรัฐสวัสดิการ : ก้าวข้ามประชานิยม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.