ปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

Main Article Content

ศิวัช นุกูลกิจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทย โดยพิจารณาจากปัญหา (1) การเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ (2) ผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชา (3) มาตรการทางกฎหมายในการเปิดเสรีกัญชา โดยจะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับของญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร 


ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการเกิดจากผู้เสพมีปัญหาส่วนตัว ครอบครัว เศรษฐกิจ การว่างงาน หนี้สินมาก เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ ก็ไปเสพกัญชาผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล รู้สึกสนุกสนาน เคลิบเคลิ้มมีความสุข จึงทำให้ประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ (2) ผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชา จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ผู้เสพจะก่อให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ในญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ไม่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการ (3) มาตรการทางกฎหมายในการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ไม่อนุญาตให้มีการเปิดเสรีกัญชาในด้านนันทนาการ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบในสังคม แต่อนุญาตให้เปิดเสรีกัญชาทางการแพทย์ หรืองานวิจัย เป็นต้น  ส่วนในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลกลางจะอนุญาตให้เปิดเสรีกัญชา เพื่อใช้ในทางการแพทย์ การศึกษา วิจัย เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด แต่มีบางรัฐฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐบาลกลาง โดยเปิดเสรีกัญชาในการนันทนาการได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.). (2561). กัญชาเป็นยาเสพติด ห้ามเสพเพื่อสันทนาการ. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2563 จาก https://1url.ws/M9cob.

ฉัตรสุมน พฤฒิภญิโญ. (2559). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้กฎหมายยาเสพติดเปรียบเทียบ : รูปแบบกฎหมายและแนวทางการควบคุมยาเสพติด. ใน รายงานการวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7). (2562). กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาต และการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือ ในประเภท 5 พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 1 ก 6 มกราคม 2560.

รุ่งศักดิ์ วงศ์กระสัน. (2560). มาตรการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในคดียาเสพติด : แนวทางในการจัดตั้งศาลเพื่อบาบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช 2560 – 2561.

วิชา มหาคุณ. (2562). วินัยคนไทยไม่พร้อม. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2563 จากhttps://1url.ws/4miX7.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 9. (2563). ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2563 จาก https://1url.ws/41r0T.