การพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง : กรณีศึกษา อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และ 3) เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีการรณรงค์ในการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ที่เป็นรูปธรรม บริการสินค้าให้มีคุณภาพตรงตามราคา การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและประชาชนได้แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะการให้คำแนะนำ หน่วยงานรัฐควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดูแลสถานที่และรักษาความสะอาดให้เป็นไปตามสุขอนามัย แนวทางในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคือ การให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกัน มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม และมีการตรวจสอบให้มีคุณภาพ ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจทุก ๆ ด้าน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งเสนอแนะให้เพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อความ “อยู่เย็น เป็นสุข” อย่างยั่งยืน
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ตอน ว่าด้วยพระสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชมนาถ แปลงมาลย์. (2562). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนบ้านส่อง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 7(1), 114-131.
ธัชพล ทีดี. (2560). รูปแบบการจัดการความรู้รูปแบบครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอชัยบาดาลจังหวัดลพบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 1(1), 1-14.
บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
บุญยืน สามพิมพ์, ภัชชากาญจน์ ฉิมนอกและสุรีพร จันทร์ภิรมย์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหญ้าคาต. หนองแจ้งใหญ่อ. บัวใหญ่จ. นครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 1(2), 67-77.
พระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย), พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(1), 23-36.
พระครูอรุณสุตาลังการ (ปรีดา ขนฺติโสภโณ), ส. บ. (2561). รูปแบบการพัฒนาความเป็นธรรมาธิปไตยของผู้นำชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(2), 364-376.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2548). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลครีมทอง.
มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตตุสิต กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เวคิน วุฒิวงศ์. (2558). ความเข้าใจในการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในท้องถิ่น กรณีศึกษา : ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 10(2), 59-74.
ศรีนวล แตงภู่, เชาวฤทธิ์ โสภักดี และขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศาส์น. 16(1), 255-266.