การศึกษากรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองของภาคประชาชนในฐานะพลเมืองของประเทศ ภายใต้สิทธิและเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็น เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วมนี้เป็นการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และวิถีชีวิต โดยการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น และให้คำแนะนำปรึกษา บนพื้นฐานของความเท่าเทียมในสังคม เนื่องจากการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้ภาคประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะนั้นโดยตรง การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ ทั้งการมีส่วนร่วมทางตรง อาทิ การเป็นนักการเมืองด้วยตนเอง หรือการร่วมตั้งองค์กรทางการเมือง เป็นต้น และการมีส่วนร่วมทางอ้อม อาทิ การคัดเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาแทนประชาชน เป็นต้น ทางด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เริ่มต้นด้วยการเข้าใจปัญหาในท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง ก่อนจะมีการตัดสินใจกำหนดนโยบายร่วมกัน จากนั้นก็นำนโยบายไปปฏิบัติ และประเมินผลเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น การศึกษากรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน จึงนับเป็นการมีส่วนร่วมที่เกิดจากฐานรากของสังคมอย่างแท้จริง เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรในชุมชนเกิดความคุ้มค่า และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างสมดุลในที่สุด
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2545). การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สมดุล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.
นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2538). แนวทางแนวการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2541). การบริการสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สำนักนิติธรรม.
นำชัย ทนุผล. (2531). หลักการและยุทธวิธีการพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.
นิรันทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2547). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐานเทคนิคและกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2, เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2544). การวิจัยการมีส่วนร่วมทางส่งเสริมการเกษตร”. ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยเพื่อการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรหน่วยที่ 9. คณะรัฐศาสตร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประสบสุข ดีอินทร์. (2537). การมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในภาคเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยะนุช เงินคล้าย. (2536). ภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน การศึกษาสำรวจปัจจัยและผลกระทบของนโยบายสาธารณสุขมูลฐานในเขต 1 ของสาธารณสุข. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2526). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2530). การบริหารและการจัดการทางทรัพยากรธรรมชาติ : บทบาทขององค์กรในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สมบูรณ์ อำพนพนารัตน์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันไฟป่า : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Fonarof อ้างใน สมศักดิ์ สุวรรณเจริญ. (2542). ขั้นของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
James L.Creighton. (2005). A guide book for involving citizens in community. Creighton University.
William Erwin อ้างใน เริงศักดิ์ ส่งสุข. (2539). การมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. ใน ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.