การพัฒนาร้านอาหาร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สู่เมืองอัจฉริยะ

Main Article Content

ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล
รักชนก แสงภักดีจิต
กิติมาพร ชูโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจคุณภาพการบริการของร้านอาหาร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงด้านความคาดหวังคุณภาพการบริการและด้านความพึงพอใจคุณภาพการบริการเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired Samples t-test เพื่อเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจคุณภาพการบริการ


          ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังในคุณภาพการบริการในร้านอาหาร อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่น การตอบสนองต่อลูกค้า ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ การดูแลเอาใจใส่แก่ลูกค้าและด้านเป็นรูปธรรมในการบริการ สำหรับความพึงพอใจคุณภาพการบริการในร้านอาหาร อยู่ในระดับค่อนข้างสูงทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้านและยังพบว่าความคาดหวังจะสูงกว่าความพึงพอใจทุกด้าน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เจ้าของร้านอาหารในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ต้องมีการปรับปรุงเพื่อสร้างความพึงพอใจคุณภาพการบริการให้สูงขึ้น นอกจากนี้ควรมีการนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการร้านอาหารเพื่อความต้องการลูกค้าตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิมและก้าวสู่เมืองอัจฉริยะต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิติผู้มาเยือน จังหวัด หนองคาย. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.mots.go.th/.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว. (2561). สถานการณ์นักท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.mots.go.th/.

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (2561). ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562 จาก www.thailandtourismcouncil.org.

Ahvenniemi, H., Houvila, A., Pinto-Seppӓ, I., & Airaksinen, M. (2017). What are the differences between sustainable and smart cities? Cities. 60, 234–245.

Bedman Narteh . (2018). Service quality and customer satisfaction in Ghanaian retail banks: the moderating role of price. International Journal of Bank Marketing, 36(1), 68-88.

Cochran, W.G.. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Nopparat Boonpienpon. (2017). Approaches to restaurant service quality development for international touristsin Hua Hin, Prachubkirikhan. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10 (1), 61-76.

Parasuraman, A., Berry, L.L. and Zeithaml, V.A. . (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67 (4), 420-450.

Quang Nguyen et al. . (2017). Understanding customer satisfaction in the UK quick service restaurant industry. The influence of the tangible attributes of perceived service quality. British Food Journal, 120(6), 1207-1222.

Veysel Yilmaz et al. . (2017). Investigating the relationship between service quality dimensions, Customer satisfaction and loyalty in Turkish banking sector. International Journal of Bank Marketing, 36(3), 423-440.