ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด 19

Main Article Content

วินิจ ผาเจริญ
ภัทรชัย อุทาพันธ์
กรวิทย์ เกาะกลาง
สุรชัย พุดชู

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด 19 โดยวิเคราะห์เอกสารจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งบทความ งานวิชาการ งานวิจัย และสถิติต่าง ๆ ตลอดจนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ผลการศึกษา พบว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคือ ความไม่เท่าเทียมกันของคุณภาพและมาตรฐานของการจัดการศึกษา ที่นักเรียนนักศึกษาได้รับช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 อันมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้เรียน รวมถึงคุณภาพและมาตรฐานที่แตกต่างกันของสถานศึกษาต่าง ๆ และระดับการศึกษาของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ดังนั้น ในช่วงของการปรับวิถีชีวิตใหม่ ที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย และไม่มีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ยิ่งทำให้โอกาสในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนในสังคมและภูมิภาคลดน้อยลงไปด้วย ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยไว้ 3 ประการ คือ 1. มุ่งเน้นการเพิ่มความเท่าเทียมของโอกาสในการเลื่อนฐานะทางสังคมโดยการปฏิรูปเชิงโครงสร้างใน 5 ประเด็น คือ การปฏิรูประบบภาษี การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูประบบสวัสดิการ การปฏิรูประบบการศึกษา และการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  2. ยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม โดยมุ่งเน้นให้สถาบันการศึกษาปรับหลักสูตรการศึกษาให้เข้ากับท้องถิ่น  3. เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นอย่างจริงจัง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2563 จาก https://1th.me/xxLM3

กุลสตรี แก้วสม. (11 พฤษภาคม 2563). การเรียนออนไลน์. (วินิจ ผาเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

ชาญชัย ฤทธิร่วม. (2562). วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านการศึกษาของพลเมืองชายขอบ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 2(4), 49-60.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2553). ความเหลื่อมล้ำ. 27 สิงหาคม-2 กันยายน : มติชนสุดสัปดาห์.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). โรงเรียนต้องเปิด-ปิดอย่างไร ช่วง'โควิด-19 ระบาด. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/1932

ภรัณยู มายูรและอลงกรณ์ อรรถแสง. (2561). บทบาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 81-94.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2563). การเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในยุค COVID-19 ยิ่งจำเป็น ต้องให้ความสำคัญกับประเด็นความเหลื่อมล้ำและทรัพยากรของผู้เรียน. เรียกใช้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.eef.or.th/378/

รัชวดี แสงมหะหมัด. (2560). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : คุณภาพสังคมที่คนไทยมองเห็น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 33-66.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). 80 ปี ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานราชบัญฑิตยสภา.

วิจิตรา สุขสวัสดิ์. (4 พ.ย. 2563). การเรียนออนไลน์. (วินิจ ผาเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). โครงการศึกษาวิจัยประเด็นนโยบายเชิงลึกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนและสังคมไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2563 จาก http://social.nesdb.go.th/

สยามรัฐออนไลน์. (2560). ทรงสร้างประโยชน์สุขเพื่อปวงชน/เพื่อประโยชน์สุของปวงชนชาวไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2563 จาก https://siamrath.co.th/n/19950#

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). พระบรมราโชวาท พระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/21664

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/

หทัยรัตน์ ขุนพิลึก. (11 พ.ย. 2563). การเรียนออนไลน์. (วินิจ ผาเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

อรอนงค์ โพธิรัมย์. (4 พ.ย. 2563). การเรียนออนไลน์. (วินิจ ผาเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

อุมาภรณ์ ภัทรวณิชย์ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2550). ความไม่เท่าเทียนกันทางการศึกษา : เมืองและชนบท. วรชัย ทองไทย และสุริย์พร พันพึ่ง, บรรณาธิการ. ประชากรและสังคม นครปฐม : สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

Antoine. (2011). Inequality in Education. In The Inequality Project. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2563. จาก https://inequalityproject.wordpress.com/inequality-in-education/.

Ferdinand Mount. (2008). Five types of inequality. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก https://www.jrf.org.uk/report/five-types-inequality.

Hill, M.A. and King, E.M. (1993). Women’s education in developing countries: an overview, in Elizabeth M. King and M. Anne Hill (eds) Women’s Education in Developing countries: Barriers, Benefits and Poltimore: Johns Hopkins University

The Bangkok Insight Editorial Team. (2563). อัพเดทสถานการณ์ ‘โควิด’ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563. เรียกใช้เมื่อ 21 เมษายน 2563 จาก https://www.thebangkokinsight.com/361699/