แนวทางการส่งเสริมความมีอายุยืนด้วยหลักอิทธิบาท 4

Main Article Content

พระธีรดา สมจิตฺโต
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความมีอายุยืนด้วยหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาบูรณาการเพื่อช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตน ดูแล ส่งเสริมสุขภาพให้อายุยืนด้วยมิติทางศีลธรรมของศาสนา โดยการปฏิบัติต่อร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมด้วยการรู้จักไตร่ตรอง ใช้ปัญญา อันใคร่ครวญ และคิดวิธีแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบอย่างเหมาะสม การปฏิบัติตนตาม “อิทธิบาท 4” เพื่อให้มีอายุยืน สามารถทำการดูแล ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจให้มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มีอายุยืนยาวได้ สัมพันธ์กับกฎธรรมชาติคือมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา การได้มาซึ่งอัตภาพแห่งชีวิตและอายุ เป็นอริยทรัพย์ภายในของบุคคลที่มีค่าเหนือกว่าทรัพย์ภายนอกทั้งปวง จึงต้องดูแลรักษาสุขภาพให้มีองค์ประกอบสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เพื่อความอยู่รอดและนำพาชีวิตไปสู่ประโยชน์สุขในระดับต่าง ๆ อันมีพระนิพพานเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ความสำคัญของการมีอายุยืนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง การมีอายุยืนอย่างมีคุณค่า คือ การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่อาลัยกับอดีต และไม่พะวงกับอนาคต สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับชีวิต ผ่านโอกาสและเวลาปัจจุบันของตนเอง เพื่อประโยชน์สุขอันเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต ที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการรักษาสุขภาพหรือภาวะที่เป็นสุขแบบองค์รวมให้กับระบบของชีวิตทั้ง 4 ด้าน คือ ทางกาย ทางสังคม ทางจิต และทางปัญญา เป็นแนวคิดหรือหลักปฏิบัติที่เชื่อมโยงวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงามและถูกต้อง นับเป็นไปตามกฎธรรมชาติเข้ากับประโยชน์สุขอันเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตได้อย่างสอดคล้องกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

เกียรติวรรณ อมาตยกลุ. (2553). อาหารสู่ชีวิตใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2532). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 7. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา.

___________________. (2555). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ : ดำเนินชีวิตให้ถูก ความสุขยิ่งเพิ่มพูน. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

___________________. (2553). สร้างวาสนาเพิ่มค่าให้อายุ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง). (2557). ดุลยภาพชีวิตเชิงพุทธเพื่อความมีอายุยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิรัช อัมพุช. (2514). เพิ่มสมอง-ศาสตร์วิทยาศาสตร์ศรีอารยะ. พระนคร : โรงพิมพ์ประเสริฐศริ.