กระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

ฐิติพร สะสม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิทยาการสมัยใหม่ 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนา       เถรวาท 3. เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัย 4 ประเภท คือ การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยในเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม


ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนววิทยาการสมัยใหม่ คือการใช้ความรู้ทางด้านการแพทย์การสาธารณสุขที่ควบคุมดูแลสุขภาวะ ด้วยปัจจัยภายใน คือการพัฒนาสุขภาวะทางจิตในเชิงบวก ที่ส่งเสริมให้สุขภาวะทางจิต เป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของตนเองในเชิงบวก ที่เกิดจากการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสภาพสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกในมิติต่าง ๆ และปัจจัยภายนอกคือการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ ด้วยการแสดงให้เห็นถึงความสนใจและความตระหนักเรื่องการเตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนววิทยาการสมัยใหม่ สู่การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการบูรณาการระหว่างกระบวนการพัฒนาสุขภาวะตามวิทยาการสมัยใหม่ กับกระบวนการพัฒนาสุขภาวะตามหลักธรรมภาวนา 4 มาใช้เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการตามหลักธรรมภาวนา 4 ในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดน่าน พบว่า ผู้เรียนโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดน่าน ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ ตามหลักธรรมภาวนา 4 จากการประเมินจากทุกหัวข้อได้ค่าเฉลี่ย 4.79 มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.dop.go.th/en/topic/view=54.

เจริญ นุชนิยม. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยวิธีพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 619-220.

ปภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. (2555). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิด ทางพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 8(3), 20.

พระครูประภากรสิริธรรม. (2560). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชุมชนท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ดุลยภาพ : สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

_____________________. (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

_____________________. (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

David, G. (2013). Policy : Sustainable development goals for people and planet. Retrieved 2 February 2016 from www.iied.org.