การประยุกต์ใช้หลักศีล 5 ไปใช้ในในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันของประชาชนบ้านส้มป่อยค่ายเมืองแสน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พระสุรเชษฐ์ อิทฺธิเตโช (ไชยรา)
พระครูพิศาลสารบัณฑิต
พระครูจิรธรรมธัช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การประยุกต์ใช้ศีล 5  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันของประชาชนในบ้านส้มป่อยค่ายเมืองแสน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักศีล 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันของประชาชนในบ้านส้มป่อยค่ายเมืองแสน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และ3. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศีล 5  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันของประชาชนในบ้านส้มป่อยค่ายเมืองแสน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ประชาชนทุกกลุ่ม และโรงเรียน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ใน 3 ขั้นตอน คือ 1. การมีส่วนร่วมในขั้นเตรียมการ (ร่วมคิด) 2. การมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินการ (ร่วมทำ) และ 3. การมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน (ร่วมรับผิดชอบ) และใช้หลักแนวคิดการมีส่วนร่วมซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ 1. การวางแผน ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา 2. การดำเนินกิจกรรม ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านการใช้ทรัพยากร การร่วมทำกิจกรรม มีความรับผิดชอบ 3. การใช้ประโยชน์ ประชาชนต้องมีความสามารถในการนำ กิจกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย สุขภาพ 4. การได้รับประโยชน์ ประชาชนต้อง ได้รับการแจกจ่ายผลประโยชน์จากชุมชนในพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอันจะเป็นกรอบหรือรูแปบบการพัฒนาชุมชน ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมรอบด้านของการบริหารจัดการชุมชนทุกระดับอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้การผู้ร่วมกันของประชาชนให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

นฤมล มารคแมน. (2543). มนุษย์และความเป็นจริงของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาจันทบุรีนฤนาท. (2513). ปทานุกรมบาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

พระมหาเกรียงศักดิ์ กิตฺติชโย (ไชยสมศรี). (2550). ศึกษาวิเคราะห์หลักศีล 5 ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการควบคุมทางสังคม. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2542). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณีการฆ่าสัตว์. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาเปรียบเทียบ). บัณฑิตวิยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระอุปติสสเถระ. (2538). วิมุตติมรรค. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ธรรมะบันทึกรำลึก 100 ปี พุทธทาส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอดิสันเพรสโปรดักส์.

พุทธทาสภิกขุ. (2539). ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคในการให้คำปรึกษาพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

รังสรรค์ แสงสุขและคณะ. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2516). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้ง.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2549). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน : กรณีศึกษาเขตสวนหลวงกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.