มาตรการในการบังคับใช้ทางกฎหมาย กรณีศึกษาเมาสุราแล้วขับรถ บนท้องถนน เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

Main Article Content

เฉลิมฤทธิ์ สามาดี
บัณฑิต ขวาโยธา
ปรีชา พันธ์สีดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการการลงเพิ่มโทษผู้ขับรถขณะเมาสุราให้ชัดเจน 2) เพื่อศึกษามาตรการในการบังคับใช้ของกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย กรณีผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุรา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร


ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่ลงโทษผู้กระทำความผิดเทียบเท่าสากลแล้ว กฎหมายไทยที่บังคับใช้ในการควบคุมปัญหาการดื่มสุราแล้วขับรถบนท้องถนน โดยการควบคุมการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีมาตรการลงโทษที่รุนแรงขึ้น สำหรับความผิดในการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ยานพาหนะหรือผู้ที่กระทำความผิดซ้ำนั้น บทกฎหมายได้บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะในขณะเมาสุรา อันจะเป็นมาตรการในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่เกิดจากผู้ขับขี่รถขณะเมาสุรา เพราะผู้กระทำความผิดอาจเล็งเห็นได้ว่า การขับรถในขณะมึนเมาสุรา อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น เห็นว่าการเพิ่มอัตราโทษทางกฎหมายให้สูงขึ้น ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อยับยั้งการกระทำความผิดซ้ำได้ การแก้ไขปัญหาการลดอุบัติเหตุส่วนหนึ่งมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายยังมีอัตราลงโทษไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้กระทำความผิด


จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อลงโทษผู้ขับขี่ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติไม่กระทำการขับขี่ในขณะเมาสุราและไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กิตติพงษ์ สิมมาลี. (2545). การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก : ศึกษากรณีผู้ขับขี่รถขณะเมาสุรา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม. (2561). ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ของกฏหมายไทยเปรียบเทียบกฏหมายต่างประเทศ. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บัณฑิต ศรไพศาล. (2549). การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารคลินิก, 22(1), 7-13.

ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. เล่ม 96 ตอนที่ 8 ฉบับพิเศษ หน้า 1 (29 มกราคม 2522).

สังเวียน เทพผา. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการเพิ่มโทษผู้ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 435-440.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). รณรงค์เมาไม่ขับ. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://1th.me/rs5Zx.

สุทธิชัย คำพานิช. (2557). มาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่ระหว่างเมาสุราตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์.

หทัยรัตน์ ต๊ะอินทร์. (2545). พฤติกรรมการดื่มสุรากับการเกิด อุบัติเหตุจราจร ของผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรที่มารับบริการ ในห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุของโรงพยาบาลตำรวจ. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อดิศักดิ์ แก้ววงษาและสัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับรถขณะเมาสุราของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกองบังคับการตำรวจนครบาล 6. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 1(1), 128-136.

เอกรัตน์ โลหะ. (2553). ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ศึกษา กรณีการขอตรวจใบอนุญาตขับขี่. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.