ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา โดยมุ่งเน้นศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา 2) เสนอแนวทางและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการด้าน ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา โดยการให้อำนาจผู้บริหารมีดุลยพินิจอิสระในการบริหาร และกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคลไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ก่อให้เกิดการใช้อำนาจและอาศัยช่องว่างกฎหมาย เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง กลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังขาดมาตรฐานธรรมาภิบาลที่เป็นบทบัญญัติกฎหมาย ทำให้การพิจารณาของศาลปกครองไม่อาจหยิบยกหลักธรรมาภิบาลมาวินิจฉัยประกอบคดีได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเห็นว่า ควรขจัดความขัดแย้งในหน้าที่และประโยชน์ทับซ้อน ควรให้ความสำคัญกับที่มาและสัดส่วนของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ให้ครอบคลุมการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภท และควรส่งเสริมให้มีการศึกษาปัญหาข้อขัดแย้ง อันเกิดจากการบริหารงานบุคคลภายใน เพื่อนำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์มาตรฐานธรรมาภิบาล ให้เป็นกลไกในการควบคุมการบริหารให้อยู่ในหลักนิติธรรมและหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กำพล อดุลวิทย์. (2555). แนะนำนายกสภามหาวิทยาลัย. ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย, 4(2), 3-5.
ณรงค์ พลมาตร์. (2562). กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พิชญาภา ยืนยาว. (2552). รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพิ่ม หลวงแก้ว. (2561). กฎหมายคุ้มครองจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู. วิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 351-361.
ใยอนงค์ ทิมสุวรรณ. (ม.ป.ป.). การบริหารวิทยาลัยภายใต้หลักนิติธรรม. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ลัดดา ผลวัฒนะ. (2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย Good Governance for university administration. วารสารการบริหารการศึกษา, 8(2), 16-27.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2562). การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย. ใน รายงานวิจัย. สถาบันคลังสมองของชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.mhesi.go.th/images/2563/pusit/legal-all/1p2562.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ.
สำนักงานศาลปกครอง. (2561). คดีพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. วิชาการศาลปกครอง, 18(1), 234-238.
สุรยุทธ์ จุลานนท์. (2553). แนะนำนายกสภามหาวิทยาลัย. ธรรมภิบาลมหาวิทยาลัย, 2(1), 3-5.
อนุชาติ คงมาลัย. (2558). เอกสารองค์ความรู้ เรื่อง มหาวิทยาลัย : กฎหมายและคำวินิจฉัยของศาล. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก http://www.council.su.ac.th/files/document/13.pdf.