ภรรยาในมุมมองทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

เจษฎา มูลยาพอ
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภรรยาในมุมมองทางพระพุทธศาสนา   โดยใช้การศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และอรรถกถาประกอบ และตำราทางพระพุทธศาสนานำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา เป็นการนำเสนอภรรยามุมมองพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงภรรยา ประกอบด้วย ภรรยาเหมือนเพชฌฆาต คือ ภรรยาล้างผลาญ ที่มีใจเหี้ยมโหด ด่าแช่งใช้คำพูดหยาบคาย ภรรยาเหมือนโจร มีลักษณะล้างผลาญเหมือนประเภทแรก แต่ล้างผลาญทรัพย์ที่สามีหามาได้เท่าไร ผลาญหมดเกลี้ยง ภรรยาเหมือนนาย คือภรรยาคอยดูถูกสามีว่าด้อยกว่าตัวเองหรือสามีอยู่ในอำนาจของตน ชอบดูถูกเหยียดหยามสามี ภรรยาเหมือนแม่ คือรักและเอ็นดูสามีเหมือนแม่รักลูกของตน คอยดูแลสามีและมีความเป็นห่วงเอาใจใส่ไม่ทอดทิ้งกัน ภรรยาเหมือนน้องสาว คือการให้ความรักระหว่างพี่-น้อง เป็นความรักยั่งยืน บางครั้งอาจจะมีการทะเลาะกันบ้าง แต่ไม่รุนแรง ภรรยาเหมือนเพื่อน คือ เป็นเพื่อนที่ให้เกียรติกัน คอยให้คำปรึกษา มีทัศนคติเหมือนกัน และภรรยาเหมือนทาสี ซึ่งอาจลดฐานะของตัวลงเป็นคอยรับใช้ทุกอย่างเพราะความรักในสามี ภรรยา 7 ประการนี้ ไม่ว่าจะเป็นดีหรือเลว สามีควรสงเคราะห์เลี้ยงดู คือให้เกียรติยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ ยกความเป็นใหญ่ให้ และให้เครื่องประดับให้ในเวลาที่เหมาะสม คอยเอาใจใส่ครอบครัว ภรรยามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคู่ การทำหน้าที่ดีของภรรยาที่มีศรัทธาเท่าเทียมกัน ประพฤติที่ดีต่อกัน มีน้ำใจที่ดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ ฉลาดในการดำเนินชีวิต มีความเป็นอยู่ที่เสมอกัน ชีวิตคู่ก็จะสามารถอยู่ครองเรือนอย่างมีความสุขตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กรองแก้ว ฉายสภาวธรรม. (2551). สารานุกรม ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร : ต้นธรรม.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบรมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 22. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

บรรณจบ บรรณรุจิ. (2544). สถานภาพของสตรีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2537). ปทานุกรมบาลีไทยอังกฤษ สันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2550). ศัพท์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล : วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2555). พระธัมมปทัฎญกถาแปล ภาค 3. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2558). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) และ ศ.พิเศษ ดร.จำลอง สารพัดนึก. (2548). พจานุกรม บาลี-ไทย สำหรับนักศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

มติชน. (2547). พจนานุกรมฉบับมติชน MATICHON DICTIONALY OF THE THAI LANGUAGE. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.

มนตรี สิระโรจนานันท์. (2557). สตรีในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______________________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______________________. (2558). คู่มือประโยค 1-2 อรรถกถาธรรมบท ภาค 4 แปลโดยอรรถ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2532). พระบาฬีลิปิก์รม แปลลำดับคำบาฬีเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

_________________. (2532). ปาลี-สยาม อภิธาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

เสถียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). (2553). ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

Mrs.C.A.F. Rhys Davids. (1996). “The Book of the Discipline(Vinaya Pitaka)”. Vol.I (Suttavibhanga), Translated by I.B.Horner, Reprinted. London : PTS.