มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อม: ศึกษากรณีการประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

ปรัชญานี ใจบุญ
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อม: กรณีการประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมการกำหนดค่าเสียหาย 2) ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดค่าเสียหายแก่ผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในคดีสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร


ผลการวิจัยพบว่า การประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไป ตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีปัญหาในทางปฏิบัติกล่าวคือ บทบัญญัติที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น มิได้มีการบัญญัติว่าจะต้องใช้เครื่องมือ หรือวิธีการประเมินมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไป หรือ มีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ศาลต้องใช้เพื่อกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวแต่อย่างใด จึงทำให้การกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายไป ไม่สอดคล้องและสมเหตุสมผลกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือยับยั้งมิให้ผู้ก่อมลพิษกระทำการอันฝ่าฝืนกฎหมายได้ จึงเสนอแนะให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไป เพื่อให้การกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ทรัพยากรธรรมชาตินั้น ได้ถูกทำลาย มีความสอดคล้องและครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งการเยียวยาฟื้นฟูสภาพความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายด้วย อันจะส่งผลให้การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีความชัดเจน และศาลมีบรรทัดฐานในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาค่าเสียหาย ได้อย่างเที่ยงธรรมและเป็นที่ยอมรับของคู่กรณีทุกฝ่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). คู่มือการประเมินความเสียหายต่อมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของมลพิษในดินหรือน้ำใต้ดิน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

แก้ว เวศอุไร และคณะ. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศเยอรมนี : ประวัติศาสตร์การพัฒนาและแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง. ใน รายงานโครงการฝึกอบรมสำหรับข้าราชการตุลาการหลักสูตร “กฎหมายเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม”. สำนักงานการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม.

ชวัลกานติ์ เกราะแก้ว. (2552). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ณรงค์ชัย ชลภาพ. (2559). การประเมินมูลค่าทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : คณะทำงานการจัดการองค์ความรู้ สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้.

ปาริชาต มั่นสกุล. (2561). “นิติเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม : กรณีการกำหนดค่าเสียหายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม”. จุลสารศาลฎีกา, 5(1), 14–15.

รัศมิ์ธันย์ แผ้วพลวง. (2561). ปัญหาการกำหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม ศึกษาเฉพาะกรณีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 ตามมาตรา 96 และมาตรา 97. ใน การศึกษาอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพัฒน์ หน่อแหวน. (2561). การกำหนดค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า : ศึกษากรณีพื้นที่ในเขตศาลจังหวัดเชียงคำ. การอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 17 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมสำนักงานศาลยุติธรรม.

สุภี สมสวัสดิ์วิบูลย์. (2561). ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการได้รับการเยียวยาความเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. การอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 17 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมสำนักงานศาลยุติธรรม.

อรพรรณ ณ บางช้าง และคณะ. (2554). โครงการการเรียกค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง. ใน รายงานวิจัย. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.