ความเป็นพลเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

Main Article Content

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข
โอฬาร ถิ่นบางเตียว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นพลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นการแสดงออกทางการเมือง และอำนาจอธิปไตยของประชาชน ที่สามารถแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการแสดงบทบาทความเป็นพลเมือง และทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคตะวันออก โดยมีระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงสำรวจในงานวิจัยนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออก โดยคำนวนจากการสุ่มตัวอย่างจังหวัดเพื่อเป็นกลุ่มจังหวัดตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างไปพร้อมกับเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ โดยอาศัยประเด็นคำถามในแบบสอบถามเป็นแนวในการสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในภาคตะวันออกแสดงบทบาทความเป็นพลเมือง โดยให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่กิจกรรมการมีส่วนร่วมด้านอื่น ๆ เป็นกิจกรรมต้องอาศัยต้นทุนทางเศรษฐกิจ การเลือกตั้งเพียงประการเดียวจึงไม่อาจบ่งชี้ถึงความเป็นพลเมืองได้ 2) ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคตะวันออกในภาพรวม ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากที่สุด เพราะเป็นการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองได้ง่ายที่สุด ในขณะที่การพูดคุยเรื่องการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง และสำหรับการไปร้องเรียนหรือร้องทุกข์กับหน่วยงานราชการ และรวมกลุ่มเป็นสิ่งที่ประชาชนแทบไม่เคยกระทำ เพราะไม่เห็นว่าจะได้ผลหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คุณกี (นามสมมติ). (24 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณจี (นามสมมติ). (23 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณฉี (นามสมมติ). (28 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณซี (นามสมติ). (11 มิถุนายน 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณดี (นามสมมติ). (24 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณทวี (นามสมมติ). (23 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณที (นามสมมติ). (17 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณนี (นามสมติ). (28 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณบี (นามสมมติ). (25 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณปี (นามสมมติ). (11 มิถุนายน 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณรี (นามสมติ). (11 มิถุนายน 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณวี (นามสมมติ). (11 มิถุนายน 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณสี (นามสมมติ). (25 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

คุณฬี (นามสมมติ). (23 พฤษภาคม 2557). บทบาทความเป็นพลเมือง. (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ผู้สัมภาษณ์)

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2562). กลุ่มบ้านใหญ่บางแสน (ตระกูลคุณปลื้ม) กับการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 49-80.

Center for Civic Education. (2006). The Concepts and Fundamental Principles of Democracy. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2557 จาก https://1th.me/bEMpV.

Marshall, T. H. and T. Bottommore. (1992). Citizenship and Social Class. London : Pluto Press.

Quintelier, Ellen and Marc Hooghe. (2012). “The Impact of Socio-economic Status on Political Participation”, Democracy in Transition. Berlin : Springer.

Tam Cho, Wendy K., James G. Gimpel and Tony Wu. (2006). “Clarifying the Role of SES in Political Participation: Policy Threat and Arab American Mobilization”. The Journal of Politics, 68(4), pp977 – 991.

Heywood, Andrew. (2007). Politics. New York : Palgrave Macmillian.