พุทธวิธีปลูกฝังลักษณะนิสัยที่เป็นสัมมาทิฏฐิแก่สังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีปลูกฝังลักษณะนิสัยที่เป็นสัมมาทิฎฐิแก่สังคม เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นผลมาจากความคิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ อันมีรากเหง้ามาจากอกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้บุคคลมีความเห็นไม่ถูกต้อง ความคิดไม่ถูกต้อง กระทำไม่ถูกต้อง พูดไม่ถูกต้อง จึงส่งผลทางลบต่อพฤติกรรมและการแสดงออกของบุคคล ทั้งต่อครอบครัวและสังคม ลักษณะนิสัยที่เป็นสัมมาทิฏฐิคือ คิดถูก พูดถูก ทำถูก ประกอบหน้าที่การงานไม่ผิดทำนองคลองธรรม สัมมาทิฏฐิจึงเป็นเบื้องต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อมีความเข้าใจถูกในหลักการดำเนินชีวิต ตามแนวทางของสัมมาทิฏฐิ ย่อมนำประโยชน์เกื้อกูลมาสู่ตนเองและสังคมส่วนรวม แบบแผนหรือกระบวนการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ 1) การปลูกฝังให้เกิดเป็นลักษณะนิสัย ได้แก่ ศีลและคุณธรรมความดีต่าง ๆ การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเด็ก ๆ ทั่วไปขณะที่ยังไม่เข้าโรงเรียน 2) การปลูกฝังลักษณะนิสัยควบคู่กับการปฏิบัติ ได้แก่ เนื้อหาธรรมะบางข้อจากสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ ที่สามารถนำมาแปลงเป็นภาคปฏิบัติได้ การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเด็กระดับปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้น 3) การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติควบคู่กับภาคทฤษฎี ได้แก่ การนำหลักธรรมที่ศึกษาในชั้นเรียนมาสู่ภาคปฏิบัติ และการเจริญสมาธิ การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 4) การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน ได้แก่ การคบหาบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับผู้ใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งเข้าสู่อาชีพการงานแล้ว ส่วนผู้ให้การปลูกฝังอบรมลักษณะนิสัยที่เป็นสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น คือบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดามารดา
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ธนกร ชูสุขเสริม. (2560). การประยุกต์ใช้สัมมาทิฏฐิเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย.วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 17(2), 215-227.
บุษบาภรณ์ สิงหอศัวรัตน์. (2555). วิเคราะห์สัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาชีวิต. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (2549). คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : กราฟิตอาร์ตพริ้นติ้ง จำกัด.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2544). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทและความสาคัญของสัมมาทิฏฐิในการ พัฒนาชีวิตตามหลักมัชฌิมาปฎิปทาในพระสุตตันตปิฎก. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2548). สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก. ปทุมธานี : กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย.