ปัญหากฎหมายการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา

Main Article Content

พวงผกา คำมุกชิก
บัณฑิต ขวาโยธา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร


          การศึกษาพบว่า การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา มีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้ ปัญหาข้อจำกัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 44/1 เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทน มีความหมายจำกัดอยู่เพียงการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าเสียหาย รวมถึงการเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ และการคืนทรัพย์เท่านั้น โดยไม่รวมไปถึงการเรียกให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นการกระทำอย่างอื่น ที่เป็นการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหาย ปัญหาการเข้าถึงสิทธิเกี่ยวกับห้วงเวลาการยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา และปัญหากระบวนการบังคับใช้กฎหมายกรณีผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาล ในคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตน ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเด็กหรือเยาวชน ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะควรบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายต่อจิตใจ การกระทำและงดเว้นการกระทำที่เป็นการเยียวยาต่อผู้เสียหาย การกำหนดอัตราโทษแก่บิดามารดาผู้ปกครอง และเพิ่มบทบัญญัติให้บิดามารดา ผู้ปกครองต้องร่วมรับผิดกับเด็กหรือเยาวชน ที่เป็นผู้กระทำความผิดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมทั้งควรจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา เพื่อรองรับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จี๊ด เศรษฐบุตร. (2550). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.

ธานิศ เกศพิทักษ์. (2557). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1-2 (มาตรา 2-157) เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.

ธีรพันธุ์ รัศมิทัต. (2541). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส ฉบับปี ค.ศ.1958. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

นิธิพัฒน์ เรืองวิวัฒนโรจน์. (2552). การยื่นคำร้องขอบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรสวัสดิ์ บุญยิ่ง. (2561). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1. เอกสารวิชาการส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง” รุ่นที่ 22 : วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

พัชราภรณ์ ภู่สุวรรณ. (2548). การเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาของพนักงาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพจิตร ปุญญพันธ์. (2550). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.

ภัทราณี จิตคำ. (2560). ปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญาที่เด็ก และเยาวชนเป็นผู้กระทำผิด. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิสิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทราวรรณ รัตนเกษตร. (2562). การคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายและการป้องกันการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์, 3(2), 125-152.

สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : เจริญรัฐการพิมพ์.

สุมาลี วงษ์วิทิต. (2546). กฎหมายว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุเมธ สุภัทรจำเนียรและคณะ. (2563). ปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศึกษากรณีผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งกับผู้เยาว์ซึ่งกระทำความผิดอาญา. ใน การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชธานี.