การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ หาคุณภาพของแบบวัด ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงโครงสร้างแบบวัด หาเกณฑ์ปกติของแบบวัด และเพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.420 ถึง 0.769 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.949 การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้ค่าดัชนี GFI มีค่าเท่ากับ 0.999 ค่าดัชนี CFI มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่าดัชนี RMR มีค่าเท่ากับ 0.003 ค่าดัชนี RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.018 ค่าดัชนี NFI มีค่าเท่ากับ 0.999 ส่วนความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง มีค่าเท่ากับ 0.900 และค่าเฉลี่ยความ แปรปรวนที่ถูกสกัดมีค่าเท่ากับ 0.694 แสดงว่า แบบวัดความคิดสร้างสรรค์มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง เกณฑ์ปกติ มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T34 - T65 โดยคะแนนมาตรฐานทีปกติ T50 อยู่ที่คะแนนดิบ 75 คะแนน และได้คู่มือการใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐพล แย้มสะอาด. (2551). การศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติทางทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2539). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพชยนต์ บุญสุภา. (2546). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน และตัวเลขสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ภิมณกาญจน์ สิรไชยพัฒน์. (2555). การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2541). กระบวนทัศน์ใหม่ : การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศศิธร เวียงอินทร์. (2547). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมพล ศักดิ์ทวีกุลกิจ. (2546). คู่มือการจัดกิจกรรมต้านยาเสพตดในสถานศึกษาสังกัดกรม อาชีวศึกษา. ใน สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2564). ประเทศไทยบนเวทีดัชนีนวัตกรรมโลก Global Innovation Index (GII 2021). เรียกใช้เมื่อ 21 มกราคม 2564 จาก https://shorturl.asia/iC0vK.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานสภาพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแห่งชาติ. (2564). ความก้าวหน้าการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. สำนักงานสภาพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแห่งชาติ.
อารี รังสินันท์. (2532). การคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ข้างฟ่าง.