อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสด จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศัสยมน ศีตลาวัชรพล
สายพิณ ปั้นทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสด จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสด จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องดื่มกาแฟสดจากร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 ราย ด้วยการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ
t-Test, F-test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 34-41 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพลูกจ้างทั่วไปหรือพนักงานบริษัท และมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสดจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสดจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Sig = 0.000***) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Sig = 0.000***) ด้านบุคลากร (Sig = 0.023*) ด้านกระบวนการให้บริการ (Sig = 0.001**) ด้านลักษณะทางกายภาพ (Sig = 0.017*) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพร้อยละ 77.90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ปริมาณการบริโภคกาแฟของแต่ละชาติ. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/27348.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

เครือเจริญโภคภัณฑ์. (2563). อัตราการบริโภคกาแฟของคนไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก http://www.cp-enews.com/news/details/cpnews/4798.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 1-13.

ชมภูนุช วานิช. (2564). กระบวนการตัดสินใจเลือกเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ อเมซอน ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดวงดาว ก้อนมณี. (2564). ข้อมูลจำนวนร้านสะดวกซื้อที่จำหน่ายเครื่องดื่มกาแฟสด. เรียกใช้เมื่อ 28เมษายน 2564 จาก https://www.7eleven.co.th/find-store.

เดือนเพชร วิชชุลดา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีบริการน้ำมันบางจากของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญไทย แสงสุพรรณ. (2563). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน ศึกษาเฉพาะสาขาในห้างสรรพสินค้าในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 1–10.

มนตรี ศรีวงษ์. (2563). แนวโน้มการเติบโตธุรกิจกาแฟเมืองไทยปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก http://www.thaismescenter.com/แนวโน้มธุรกิจกาแฟเมืองไทย-ปี-2563/.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร โสมวิภาต. (2563). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดร้านกาแฟ ALL CAFÉ ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 1–16.

ศิริวรรณ สรวงศิริ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟของร้านคาเฟ่อเมซอน. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Smart SME Channel. (2562). คู่แข่งกาแฟในตลาดร้านสะดวกซื้อ. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2564จาก https://www.smartsme.co.th/content/224167.

Widyawati and Margaretha Pink Berlianto. (2018). The Influencing Factors on Coffee Shop Customer’s Revisit Intention. Advances in Economics. Business and Management Research, 101(1), 1 – 7.