การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายของพระสงฆ์กับการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ฐิติวรรณ สินธุ์นอก
บุญส่ง สินธุ์นอก
ธวัญหทัย สินธุนอก
สมเดช นามเกตุ
เจษฎา มูลยาพอ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมขององค์กรในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดหนองคาย (2) ศึกษาบทบาทของเครือข่ายพระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดหนองคาย (3) พัฒนารูปแบบในการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายของพระสงฆ์กับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่  (1) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย        (2) องค์การบริหารส่วนตำบล (3) องค์กรเอกชน  (4) องค์กรสงฆ์ (5) ประชาชน จำนวน 5 กลุ่ม ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์


         ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการมีส่วนร่วมขององค์กรในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่จังหวัดหนองคาย คือ (1) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย (2) องค์การบริหารส่วนตำบล (3) องค์กรเอกชน  (4) องค์กรสงฆ์ (5) ประชาชนในพื้นที่ ด้านบทบาทของเครือข่ายพระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ได้แก่ (1) บทบาทด้านการพัฒนาสังคม แบ่งออกเป็นการพัฒนาจิตใจ โดยใช้หลักศีล 5 และพัฒนาทางวัตถุใช้หลักสัปปายะ 7 (2) บทบาทการพัฒนาประเพณีวัฒนธรรมใช้การเผยแผ่โดยการแสดงธรรม และมีการจัดกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสอง และมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายของพระสงฆ์กับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดหนองคาย มีโครงสร้างเครือข่ายแบบไล่ลำดับชั้นตามระบบการปกครองคณะสงฆ์ โดยมีการทำงานเชื่อมโยงกัน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายขององค์กรสงฆ์กับภาครัฐ (2) การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายขององค์กรสงฆ์กับภาคเอกชน (3) การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายขององค์กรสงฆ์กับผู้นำชุมชน (4) การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายขององค์กรสงฆ์กับพระสงฆ์ในพื้นที่ และ (5) การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่ายขององค์กรสงฆ์กับประชาชนในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

เชียรช่วง กัลยาณมิตร และคณะ. (2558). รายงานผลศึกษาตามโครงการประชุมสัมมนากำหนดกรอบการทำงานในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล. ที่ทำการปกครองจังหวัดหนองคาย.

ดำรง แสงกวีเลิศ และนันธิกา ทังสุพานิช. (2545). เขตเศรษฐกิจ : แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 39(2), 42-43.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้ง ที่ 31. สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม จำกัด.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ. (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128).

สุมาลี วงษ์วิทิตและคณะ. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. ใน รายงานวิจัย, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.