การมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

โชติมา นวลจันทร์
วุฒิเลิศ เทวกุล
ธนกฤต โพธิ์เงิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กรอบแนวคิดใช้แนวคิดของ Cohen and Uphoff ประชากร คือ กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา จำนวน 30,006 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 379 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามนำไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพร่วมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน อันดับแรก คือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ รองลงมา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และข้อที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด การมีส่วนร่วมในการประเมิน 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนมีการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ด้านจิตวิทยาทางการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง        มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คมคาย อุดรพิมพ์. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. ใน โครงการสนับสนุนทุนวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเวช แสวงสุข. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตทวีวัฒนา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานเทศบาลเมืองอ่างศิลา. (2563). กองแผนและงบประมาณเทศบาลเมืองอ่างศิลา. อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.

Barbara J. Nelson and Najma Chowdhury. (1994). Women and Politics Worldwide. Paperback : Yale University.

Cohen, S.L. (1996). Mobilizing Communities for Participation and Empowerment. In Servaes, J., Jacobson, T.L., & White, S,A, (eds.), Participatory Communication for Social Change. New Delhi : Sage.

McClosky. (1968). Political participation International Encyclopedia of the Social Sciences. New York : McMillan and Free Press.

Milbrath & Goel. (1977). Political Participation : How and Why Do People Get involved in Politics. Chicago : Rand Mcnally and Co.

Mohammad Soud Alelaimat. “Factors affecting political participation (Jordanian universities students' voting: field study 2017-2018)”. AFFRIKA: Journal of Politics, Economics and Society. ISSN:2075-6534. (Online) July 2019 [online] https://www.researchgate.net/publication/334769071_Youth_Political_Participation_A_Qualitative Study of Undergraduate Students at the University of Ghana.