อนาคตภาพของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า

Main Article Content

คฑาวุธ บุญรัตน์
วันทนา อมตาริยกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มที่ควรจะเป็นของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอนาคต โดยใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบ EDFR แบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า ระยะที่ 2 ศึกษาแนวโน้มที่ควรจะเป็นในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในทศวรรษหน้า ผู้วิจัยได้คัดเลือกแนวโน้มที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และแนวโน้มที่มีความสอดคล้องกันของความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 รวมทั้งผลการยืนยันความสอดคล้องเหมาะสมที่มีค่าร้อยละ 85 ขึ้นไป


ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มที่ควรจะเป็นในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีในทศวรรษหน้า ที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการด้านที่ 4 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ในข้อที่ระบุว่า ครูใช้กระบวนการที่พัฒนาทักษะชีวิตเน้นพัฒนาทักษะที่จำเป็นในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กนกจิต ศรีด้วง. (2558). การส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

คำ วงค์เทพ. (2554). การศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชุติมา รักอาชา และ ปรีชา วิหคโต. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายใoโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 837-847.

ญาดา สงฆ์วัฒนะ และคณะ. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, หน้า 361-372., นครสวรรค์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2555). การบริหารการวัดและประเมินผลการศึกษากับการปฏิบัติงานตามภารกิจการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทอดศักดิ์ จันทิมา และคณะ. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโดยการใช้เครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 117-130.

นิรมล ชาสงวน และคณะ. (2558). การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 115-125.

ปฏิญญา จริตไทย. (2559). การศึกษาการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา.

มารศรี แนวจำปา และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 8(2), 109-115.

วันเพ็ง ระวิพันธ์ และคณะ. (2562). แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 116-128.

สมเกียรติ เจษฎากุลทวี. (2563). ระบบการบริหารงานแนะแนวแบบมุ่งอนาคตในสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(2), 270-285.

สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สุกัญญา จัตุรงค์ และ อภิชาต เลนะนันท์. (2559). การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม 7. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1473-1486.

อดิพงษ์ สุขนาค และชัยพจน์ รักงาม. (2556). การพัฒนารูปแบบการวางแผนการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านทุ่งกราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 96-106.

อัมพรกัญ บัวครอง. (2553). การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำการจัดการศึกษาเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.