ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต21 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 230 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.969 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การบริหารความเสี่ยง การมีความคิดสร้างสรรค์ และการกระตุ้นการสร้างนวัตกรรม โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะสารสนเทศและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่น และทักษะอาชีพและทักษะชีวิต โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือทักษะสารสนเทศและเทคโนโลยี 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (X1 ) การทำงานเป็นทีม (X2) กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม (X5) และการบริหารความเสี่ยง (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์ทักษะการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 85.0 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กาญจนา เกษร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเทคโนโลยีบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชัชวาลย์ เจริญบุญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน ในจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม .
ณปภัช อำพวลิน. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรม : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูนสุข อุดม. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลกระทบต่อการพัฒนาสมรรถนะของครูในภาคใต้ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพด้านกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มนัสนันท์ สงวนแสง. (2559). ปัจจัยเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการบริหารงาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รังสรรค์ อ้วนวิจิตร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก. นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
รุ่งนิรัญ พุทธิเสน. (2557). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรางคณา ทองนพคุณ. (2556). “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร”. เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2563 จากhttps://1th.me/EW12z.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็ก จำกัด.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
สุคนธ์ สิทธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อภิชชยา บุญเจริญ. (2556). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Churches, A. (2008). 21st Century Pedagogy. Retrieved January 30, 2017 from http://edorigami.wikispaces.com/21st+Century+Pedagogy.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2013). Educational Administration theory, Research and Practice. Ninth Edition : Published by McGraw-Hill.
Moore, MG, Anderson. (2004). WG. Handbook of distance education. New Jersey : Lawrence Erlbaum.