ปัญหาการส่งอาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติ

Main Article Content

ศิริพงษ์ โสภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการส่งอาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 และพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ว่ามีปัญหาในเรื่องสภาพบังคับอย่างไรบ้าง 2) เพื่อแสวงหาแนวทางในปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากเอกสาร รายงาน บทความ บทวิเคราะห์ ทั้งจากสื่อมวลชน รายงานวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 


          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามชาติของประเทศไทยเกิดจาก (1) ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนในลักษณะสนธิสัญญาทวิภาคีกับต่างประเทศเพียง 14 ประเทศ และในจำนวน 14 ประเทศนี้ เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเพียง 4 ประเทศเท่านั้น จึงทำให้การขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่ประสบผลสำเร็จ (2) ในกรณีประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน              ต้องดำเนินการร้องขอได้โดยวิธีการทางการทูต และต้องแปลคำขอเป็นภาษาอังกฤษ แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของไทย ยังขาดความรู้ในเรื่องแบบพิธี และขาดทักษะในด้านภาษาอังกฤษ (3) การขอความร่วมมือในกรณีไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน ต้องมีพยานหลักฐานตามระบบกฎหมายลักษณะพยานของประเทศผู้รับคำขอ จึงจะประสบผลสำเร็จ              ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนของไทย ไม่มีความรู้ในเรื่องมาตรฐานกฎหมายลักษณะพยานของต่างประเทศทุกประเทศ จึงมักจะถูกประเทศผู้รับคำขอปฏิเสธส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในเรื่องพยานหลักฐานไม่ถูกต้องและเพียงพอ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 27 (7 เมษายน 2535)

ณัฏฐา วสันตสิงห์. (2563). การส่งบุคคลข้ามแดนและมิติของกฎหมายระหว่างประเทศ. วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 38(1), 1-10.

ณิชนันท์ อิศรากูร ณ อยุธยา. (2562). ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บัญญัติ วิสิทธิมรรค. (2533). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. วาสารอัยการ, 13(148), 1-13.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2564). คำอธิบายกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ประกอบ ประพันธ์เนติวุฒิ. (2541). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา ตอนที่ 2 แผนกคดีอาญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลับรามคำแหง.

ปีติสาร ธารสุวรรณวงศ์. (2549). สนธิสัญญาแม่แบบของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน : การปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทย. ใน ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เลื่อนฉวี. (2553). การใช้เขตอำนาจของรัฐต่อผู้กระทำความผิดโดยวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(74), 127-147.

อิศรานุวัฒน์ ภุมรินทร์. (2557). ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทย. ใน ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Ivan Anthony, Shearer. (1971). Extradition in international law. Manchester : University Press.