การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับต่างประเทศ

Main Article Content

ไพจิต สีสะหวาด
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและหลักสากล 2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศไทยและประเทศจีน 3) หาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร และเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยและประเทศจีน


ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีข้อกำหนดที่สอดคล้องกับหลักสากลหลายประการ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางข้อกำหนดที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับประเทศไทยและประเทศจีน พบว่า รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งของทั้งสามประเทศ ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นการเฉพาะ ส่วนระเบียบกฎหมายของทั้งสามประเทศ มีความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันในบางประการ ซึ่งกฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่ได้กำหนดหลักการชัดเจนว่าจะให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศในลักษณะใด ดังนั้น จึงเห็นว่าควรปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา การให้ความคุ้มครองข้ามจำพวกสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างกฎระเบียบหรือคู่มือเกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นอันเฉพาะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา. (2017). เลขที่ 38/สพซ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017.

ข้อตกลงว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและชื่อการค้า. (2019). เลขที่ 2822/กวต 17 ธันวาคม ค.ศ. 2019.

ประกาศกระทรวงพาณิชย์. (2547). เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 113 ง หน้า 5 (7 ตุลาคม 2547).

ประมวลกฎหมายแพ่ง. (2018). เลขที่ 55/สพซ ลงวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2018.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (2535). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 109 ตอน 42 หน้า 1 (8 เมษายน 2535).

ประมวลกฎหมายอาญา. (2017). เลขที่ 26/สพซ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2017.

ประมวลกฎหมายอาญา. (2499). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 73 ตอนพิเศษ 95 ก หน้า 1 (15 พฤศจิกายน 2499).

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า. (2534). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 134 ตอน 40 ก หน้า 1 (15 พฤศจิกายน 2534).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 108 ตอนพิเศษ 199 ก หน้า 7 (6 เมษายน 2560).

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2015). เลขที่ 63/สพซ ลงวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015.

Civil Code of the People’s Republic of China on January 1, 2021. (2021).

Constitution of the People’s Republic of China in December 1982. (1982).

Criminal Code of the Republic of China on June 16, 2021. (2021).

Interim Provisions of well-known trademarks and Management 1996. (1996).

Interpretation of the Supreme People's Court of Several Issues Concerning the Application of the Law to the Trial of Civil Dispute Cases Involving Well-Known Trademarks. (2009).

Joint Recommendation Concerning Provisions on the Protection of Well-Known Marks. (1999).

Nancy V. Green. (2002). Trademark History Timeline. Retrieved from https://shorturl.asia/I9yPO.

Paris Convention for the Protection of Industrial Property. (1967).

Provisions of July 3, 2014 on the Recognition and Protection of Well-known Trademarks Order No 66. (2014).

Regulations on the Determination of Well-Known Trademarks. (2009).

TRIPS Agreement (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights). (1995).

WIPO Magazine. (2005). Trademark Past and Present. Retrieved from https://www.wipo.int/wipo_magazine/en/2005/02/article_0003.html.

World Intellectual Property Organization. (2004). WIPO INTELLECTUAL PROPERTY HANDBOOK (Second Edition).